เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [6. ฉัฏฐวรรค] 3. สัจจกถา (55)
แห่งธรรม ในปฏิจจสมุปบาทข้อว่า “เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี” นั้น
เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี 12 อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี 12 อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี 12 อย่าง ที่เร้นมี 12 อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพาน
มี 12 อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปฏิจจสมุปปาทกถา จบ

3. สัจจกถา (55)
ว่าด้วยสัจจะ
[452] สก. สัจจะ 4 เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(เป็นอสังขตะ)ใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. ที่ต้านทานมี 4 อย่าง ที่เร้นมี 4 อย่าง ที่พึ่งมี 4 อย่าง ที่หมาย
มี 4 อย่าง ที่มั่นมี 4 อย่าง อมตะมี 4 อย่าง นิพพานมี 4 อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 452/218)
2 เพราะมีความเห็นว่า อริยสัจ 4 เป็นสภาวธรรมที่เที่ยงแท้ ถาวร ไม่เป็นอย่างอื่น โดยถือตามพระพุทธพจน์
ที่ว่า “สัจจะ 4 เป็นสิ่งที่เที่ยงแท้ไม่เป็นอย่างอื่น อย่างไม่รอบคอบ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า
สัจจะ 4 เป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง (อภิ.ปญฺจ.อ. 452/218, สํ.ม. (แปล) 19/1090/604)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :481 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [6. ฉัฏฐวรรค] 3. สัจจกถา (55)
สก. นิพพานมี 4 อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิพพานทั้ง 4 อย่าง ยังมีความสูงต่ำ ความเลวและความประณีต
ความยิ่งและหย่อน เขตแดน ความแตกต่าง ร่องรอย ช่องว่างอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทุกขสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทุกข์เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทุกขสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทุกข์ทางกาย ทุกข์ทางใจ ความโศก ความคร่ำครวญ ความลำบากกาย
ความลำบากใจ ความคับแค้นใจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมุทยสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมุทัยเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมุทยสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มัคคสัจเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :482 }