เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [6. ฉัฏฐวรรค] 2. ปฏิจจสมุปปาทกถา (54)
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี 2 อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น1 ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี 2 อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่2
สก. ที่ต้านทานมี 2 อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี 2 อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความดำรงอยู่แห่งธรรม ความกำหนดความแน่นอนแห่งธรรม ในปฏิจจ-
สมุปบาทข้อว่า “เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี” นั้น เป็นสภาวธรรมที่ไม่
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ความดำรงอยู่แห่งธรรม ความกำหนดความแน่นอนแห่งธรรม
ในปฏิจจสมุปบาทข้อว่า “เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี” นั้น เป็นสภาว
ธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี 3 อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี 3 อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี 3 อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี 3 อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความดำรงอยู่แห่งธรรม ความกำหนดความแน่นอนแห่งธรรม ในปฏิจจ-
สมุปบาทข้อว่า “เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี” นั้น เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง ความดำรงอยู่แห่งธรรม ความกำหนดความแน่นอนแห่งธรรม ใน
ปฏิจจสมุปบาทข้อว่า “เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี” นั้น เป็นสภาวธรรม
ที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ ความดำรงอยู่แห่งธรรม ความกำหนดความแน่นอน

เชิงอรรถ :
1 เพราะเห็นว่า ไม่มีในพระสูตร (อภิ.ปญฺจ.อ. 451/218)
2 เพราะเห็นคล้อยตามลัทธิที่ยึดถือ (อภิ.ปญฺจ.อ. 451/218)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :480 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [6. ฉัฏฐวรรค] 3. สัจจกถา (55)
แห่งธรรม ในปฏิจจสมุปบาทข้อว่า “เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี” นั้น
เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี 12 อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี 12 อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี 12 อย่าง ที่เร้นมี 12 อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพาน
มี 12 อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปฏิจจสมุปปาทกถา จบ

3. สัจจกถา (55)
ว่าด้วยสัจจะ
[452] สก. สัจจะ 4 เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(เป็นอสังขตะ)ใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. ที่ต้านทานมี 4 อย่าง ที่เร้นมี 4 อย่าง ที่พึ่งมี 4 อย่าง ที่หมาย
มี 4 อย่าง ที่มั่นมี 4 อย่าง อมตะมี 4 อย่าง นิพพานมี 4 อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 452/218)
2 เพราะมีความเห็นว่า อริยสัจ 4 เป็นสภาวธรรมที่เที่ยงแท้ ถาวร ไม่เป็นอย่างอื่น โดยถือตามพระพุทธพจน์
ที่ว่า “สัจจะ 4 เป็นสิ่งที่เที่ยงแท้ไม่เป็นอย่างอื่น อย่างไม่รอบคอบ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า
สัจจะ 4 เป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง (อภิ.ปญฺจ.อ. 452/218, สํ.ม. (แปล) 19/1090/604)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :481 }