เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [6. ฉัฏฐวรรค] 1. นิยามกถา (53)
6. ฉัฏฐวรรค
1. นิยามกถา (53)
ว่าด้วยนิยาม
[445] สก. นิยาม1เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(เป็นอสังขตะ)ใช่ไหม
ปร.2 ใช่3
สก. นิยามเป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็นที่หมาย
เป็นที่มั่น เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิยามเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่
ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี 2 อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี 2 อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี 2 อย่าง ที่เร้นมี 2 อย่าง ที่พึ่งมี 2 อย่าง ที่หมาย
มี 2 อย่าง ที่มั่นมี 2 อย่าง อมตะมี 2 อย่าง นิพพานมี 2 อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิพพานมี 2 อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 นิยาม ในที่นี้หมายถึงอริยมรรค (อภิ.ปญฺจ.อ. 445-447/216)
2 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 445-447/216)
3 เพราะมีความเห็นว่า นิยามเป็นของเที่ยง ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า นิยามเป็นสภาวธรรม
ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง (อภิ.ปญฺจ.อ. 445-447/216)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :473 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [6. ฉัฏฐวรรค] 1. นิยามกถา (53)
สก. นิพพานทั้ง 2 อย่าง ยังมีความสูงต่ำ ความเลวและความประณีต
ความยิ่งและหย่อน เขตแดน ความแตกต่าง ร่องรอย ช่องว่างอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิยามเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีบุคคลบางพวกก้าวลงสู่นิยาม ได้นิยาม ให้นิยามอุบัติขึ้น ให้อุบัติ
ขึ้นด้วยดี ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด ให้บังเกิดโดยยิ่ง ให้เกิด ให้เกิด
ด้วยดีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางพวกก้าวลงสู่สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ได้สภาวธรรม
ที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ให้สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งอุบัติขึ้น ให้อุบัติขึ้นด้วยดี
ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด ให้บังเกิดโดยยิ่งให้เกิด ให้เกิดด้วยดีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[446] สก. นิยามเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มรรคเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มรรคเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิยามเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสดาปัตตินิยามเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตติมรรคเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :474 }