เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [5. ปัญจมวรรค] 9. ปัจจุปปันนญาณกถา (51)
9. ปัจจุปปันนญาณกถา (51)
ว่าด้วยปัจจุปปันนญาณ
[441] สก. ปัจจุปปันนญาณ1มีอยู่ใช่ไหม
ปร.2 ใช่
สก. บุคคลรู้ญาณนั้นได้ด้วยปัจจุปันนญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลรู้ญาณนั้นได้ด้วยปัจจุปปันนญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลรู้ญาณนั้นว่าเป็นญาณ ได้ด้วยปัจจุปปันนญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รู้ญาณนั้นว่าเป็นญาณ ได้ด้วยปัจจุปปันนญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณนั้นเป็นอารมณ์ของปัจจุปปันนญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณนั้นเป็นอารมณ์ของปัจจุปปันนญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ปัจจุปปันนญาณ หมายถึงญาณที่หยั่งรู้อารมณ์ปัจจุบันซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ (1) ขณะปัจจุบัน (ช่วง
ที่จิตดวงหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป) (2) สันตติปัจจุบัน (ช่วงที่สืบต่อมาจากช่วงที่ 1 ประมาณ 2 หรือ 3
วิถีจิต) (3) อัทธานปัจจุบัน (ช่วงเวลาที่ยาวกว่า 2 ช่วงแรกออกไป) ซึ่งฝ่ายปรวาทีเห็นว่า ปัจจุปปันนญาณ
สามารถรู้ปัจจุบันได้ทั้ง 3 ช่วง ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ปัจจุปปันนญาณสามารถรู้ได้เฉพาะ
ช่วงที่ 2 กับ ช่วงที่ 3 เท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ. 441/214)
2 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 441/214)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :469 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [5. ปัญจมวรรค] 9. ปัจจุปปันนญาณกถา (51)
สก. ถูกต้องผัสสะนั้นด้วยผัสสะนั้น เสวยเวทนานั้นด้วยเวทนานั้น จำ
สัญญานั้นด้วยสัญญานั้น จงใจเจตนานั้นด้วยเจตนานั้น คิดจิตนั้นด้วยจิตนั้น
ตรึกวิตกนั้นด้วยวิตกนั้น ตรองวิจารนั้นด้วยวิจารนั้น เอิบอิ่มปีตินั้นด้วยปีตินั้น
ระลึกสตินั้นด้วยสตินั้น รู้ชัดปัญญานั้นด้วยปัญญานั้น ตัดดาบนั้นด้วยดาบนั้น
ถากขวานนั้นด้วยขวานนั้น ถากผึ่งนั้นด้วยผึ่งนั้น ถากมีดนั้นด้วยมีดนั้น เย็บเข็ม
นั้นด้วยเข็มนั้น ลูบคลำปลายนิ้วมือนั้นด้วยปลายนิ้วมือนั้น ลูบคลำปลายจมูกนั้น
ด้วยปลายจมูกนั้น ลูบคลำกระหม่อมนั้นด้วยกระหม่อมนั้น ล้างคูถนั้นด้วยคูถนั้น
ล้างมูตรนั้นด้วยมูตรนั้น ล้างน้ำลายนั้นด้วยน้ำลายนั้น ล้างน้ำหนองนั้นด้วย
น้ำหนองนั้น ล้างเลือดนั้นด้วยเลือดนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[442] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ปัจจุปปันนญาณมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เมื่อพระโยคาวจรเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงแล้วก็
เป็นอันเห็นญาณนั้น โดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากเมื่อพระโยคาวจรเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงแล้ว
ก็เป็นอันเห็นญาณนั้นโดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยง ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ปัจจุปปันนญาณมีอยู่”

ปัจจุปปันนญาณกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :470 }