เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [5. ปัญจมวรรค] 8. อนาคตญาณกถา (50)
สก. ญาณนั้นเป็นอโนตตัปปปริยญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[438] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “เจโตปริยญาณมีจิตเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มี
ธรรมอื่นเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เป็นเจโตปริยญาณมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากเป็นเจโตปริยญาณ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “เจโตปริย-
ญาณมีจิตเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์”
จิตตารัมมณกถา จบ

8. อนาคตญาณกถา (50)
ว่าด้วยอนาคตญาณ1
[439] สก. อนาคตญาณมีอยู่ใช่ไหม
ปร.2 ใช่3
สก. อนาคตญาณนั้นรู้อนาคตได้โดยมูล โดยเหตุ โดยแหล่งกำเนิด โดยต้น
กำเนิด โดยบ่อเกิด โดยสมุฏฐาน โดยเหตุเครื่องหล่อเลี้ยง โดยอารมณ์ โดยปัจจัย
โดยสมุทัยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 อนาคตญาณ หมายถึงญาณที่หยั่งรู้อนาคต (อภิ.ปญฺจ.อ. 439/213)
2 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 439/213)
3 เพราะมีความเห็นว่า อนาคตญาณสามารถรู้อนาคตทั้งใกล้ตัว(อนนฺตร) และไกลตัว(อนฺตร)ได้ทั้งหมด ซึ่ง
ต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า อนาคตญาณสามารถรู้อนาคตได้เฉพาะไกลตัวเท่านั้น คำว่า ใกล้ตัว
หมายถึงไม่มีช่องว่างระหว่างขณะจิตหนึ่งกับอีกขณะจิตหนึ่ง เช่น โคตรภูจิตกับมัคคจิต ส่วนคำว่า ไกลตัว
หมายถึงช่วงขณะจิตที่มีภวังคจิตหรือวิถีจิตอื่นคั่น (อภิ.ปญฺจ.อ. 439/213)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :467 }