เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [5. ปัญจมวรรค] 7. จิตตารัมมณกถา (49)
จิตฟุ้งซ่าน ฯลฯ จิตเป็นมหัคคตะ ฯลฯ จิตไม่เป็นมหัคคตะ ฯลฯ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า
ฯลฯ จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ฯลฯ จิตเป็นสมาธิ ฯลฯ จิตไม่เป็นสมาธิ ฯลฯ จิตหลุดพ้น
ฯลฯ จิตไม่หลุดพ้นว่า “จิตไม่หลุดพ้น” มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบางคนรู้ชัดจิตที่ไม่หลุดพ้นว่า “จิตไม่หลุดพ้น” มีอยู่ ท่าน
ก็ไม่ควรยอมรับว่า “เจโตปริยญาณมีจิตเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์”
[437] สก. ญาณที่มีผัสสะเป็นอารมณ์ ควรเรียกว่า “เจโตปริยญาณ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากญาณที่มีผัสสะเป็นอารมณ์ ควรเรียกว่า “เจโตปริยญาณ” ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “เจโตปริยญาณมีจิตเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์”
สก. ญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีสัญญาเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีเจตนา
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีจิตเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีสัทธาเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีวิริยะเป็น
อารมณ์ ฯลฯ มีสติเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีสมาธิเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีปัญญา
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีราคะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโทสะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโมหะ
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอโนตตัปปะเป็นอารมณ์ ควรเรียกว่า “เจโตปริยญาณ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากญาณมีอโนตตัปปะเป็นอารมณ์ ควรเรียกว่า “เจโตปริยญาณ” ท่าน
ก็ไม่ควรยอมรับว่า “เจโตปริยญาณมีจิตเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์”
สก. ญาณที่มีผัสสะเป็นอารมณ์ ไม่ควรเรียกว่า “เจโตปริยญาณ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณนั้นเป็นผัสสปริยญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณมีเวทนาเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีสัญญาเป็นอารมณ์ ฯลฯ มี
อโนตตัปปะเป็นอารมณ์ ไม่ควรเรียกว่า “เจโตปริยญาณ” ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :466 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [5. ปัญจมวรรค] 8. อนาคตญาณกถา (50)
สก. ญาณนั้นเป็นอโนตตัปปปริยญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[438] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “เจโตปริยญาณมีจิตเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มี
ธรรมอื่นเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เป็นเจโตปริยญาณมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากเป็นเจโตปริยญาณ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “เจโตปริย-
ญาณมีจิตเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์”
จิตตารัมมณกถา จบ

8. อนาคตญาณกถา (50)
ว่าด้วยอนาคตญาณ1
[439] สก. อนาคตญาณมีอยู่ใช่ไหม
ปร.2 ใช่3
สก. อนาคตญาณนั้นรู้อนาคตได้โดยมูล โดยเหตุ โดยแหล่งกำเนิด โดยต้น
กำเนิด โดยบ่อเกิด โดยสมุฏฐาน โดยเหตุเครื่องหล่อเลี้ยง โดยอารมณ์ โดยปัจจัย
โดยสมุทัยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 อนาคตญาณ หมายถึงญาณที่หยั่งรู้อนาคต (อภิ.ปญฺจ.อ. 439/213)
2 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 439/213)
3 เพราะมีความเห็นว่า อนาคตญาณสามารถรู้อนาคตทั้งใกล้ตัว(อนนฺตร) และไกลตัว(อนฺตร)ได้ทั้งหมด ซึ่ง
ต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า อนาคตญาณสามารถรู้อนาคตได้เฉพาะไกลตัวเท่านั้น คำว่า ใกล้ตัว
หมายถึงไม่มีช่องว่างระหว่างขณะจิตหนึ่งกับอีกขณะจิตหนึ่ง เช่น โคตรภูจิตกับมัคคจิต ส่วนคำว่า ไกลตัว
หมายถึงช่วงขณะจิตที่มีภวังคจิตหรือวิถีจิตอื่นคั่น (อภิ.ปญฺจ.อ. 439/213)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :467 }