เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [5. ปัญจมวรรค] 7. จิตตารัมมณกถา (49)
[435] สก. สมมติญาณมีสัจจะเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคได้ด้วย
ญาณนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สมมติญาณกถา จบ

7. จิตตารัมมณกถา (49)
ว่าด้วยญาณมีจิตเป็นอารมณ์
[436] สก. เจโตปริยญาณมีจิตเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็น
อารมณ์ใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. บางคนรู้ชัดจิตที่มีราคะว่า จิตมีราคะ มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบางคนรู้ชัดจิตที่มีราคะว่า จิตมีราคะ มีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“เจโตปริยญาณมีจิตเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์”
สก. บางคนรู้ชัดจิตที่ปราศจากราคะว่า จิตปราศจากราคะ ฯลฯ จิตมีโทสะ ฯลฯ
จิตปราศจากโทสะ ฯลฯ จิตมีโมหะ ฯลฯ จิตปราศจากโมหะ ฯลฯ จิตหดหู่ ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 436/213)
2 เพราะซึ่งมีความเห็นว่า เจโตปริยญาณรู้ได้เฉพาะจิต แต่ไม่รู้เจตสิก (อภิ.ปญฺจ.อ. 436/213)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :465 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [5. ปัญจมวรรค] 7. จิตตารัมมณกถา (49)
จิตฟุ้งซ่าน ฯลฯ จิตเป็นมหัคคตะ ฯลฯ จิตไม่เป็นมหัคคตะ ฯลฯ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า
ฯลฯ จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ฯลฯ จิตเป็นสมาธิ ฯลฯ จิตไม่เป็นสมาธิ ฯลฯ จิตหลุดพ้น
ฯลฯ จิตไม่หลุดพ้นว่า “จิตไม่หลุดพ้น” มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบางคนรู้ชัดจิตที่ไม่หลุดพ้นว่า “จิตไม่หลุดพ้น” มีอยู่ ท่าน
ก็ไม่ควรยอมรับว่า “เจโตปริยญาณมีจิตเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์”
[437] สก. ญาณที่มีผัสสะเป็นอารมณ์ ควรเรียกว่า “เจโตปริยญาณ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากญาณที่มีผัสสะเป็นอารมณ์ ควรเรียกว่า “เจโตปริยญาณ” ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “เจโตปริยญาณมีจิตเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์”
สก. ญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีสัญญาเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีเจตนา
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีจิตเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีสัทธาเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีวิริยะเป็น
อารมณ์ ฯลฯ มีสติเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีสมาธิเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีปัญญา
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีราคะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโทสะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโมหะ
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอโนตตัปปะเป็นอารมณ์ ควรเรียกว่า “เจโตปริยญาณ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากญาณมีอโนตตัปปะเป็นอารมณ์ ควรเรียกว่า “เจโตปริยญาณ” ท่าน
ก็ไม่ควรยอมรับว่า “เจโตปริยญาณมีจิตเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์”
สก. ญาณที่มีผัสสะเป็นอารมณ์ ไม่ควรเรียกว่า “เจโตปริยญาณ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณนั้นเป็นผัสสปริยญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณมีเวทนาเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีสัญญาเป็นอารมณ์ ฯลฯ มี
อโนตตัปปะเป็นอารมณ์ ไม่ควรเรียกว่า “เจโตปริยญาณ” ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :466 }