เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [5. ปัญจมวรรค] 5. ปฏิสัมภิทากถา (47)
สก. ญาณทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัญญาทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปัญญาทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์มีปัญญา ปัญญานั้นเป็นปฏิสัมภิทา
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้เข้าสมาบัติที่มีอาโปกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีเตโชกสิณเป็นอารมณ์
ฯลฯ มีวาโยกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีนีลกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีปีตกสิณเป็น
อารมณ์ ฯลฯ มีโลหิตกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโอทาตกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีอากาสานัญจายตนะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีวิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์
ฯลฯ ถวายทาน ฯลฯ จีวร ฯลฯ บิณฑบาต ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ ถวาย
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร มีปัญญา ปัญญานั้นเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[433] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ญาณทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทา” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. โลกุตตรปัญญามีอยู่ โลกุตตรปัญญานั้นไม่เป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ญาณทั้งปวงจึงเป็นปฏิสัมภิทา

ปฏิสัมภิทากถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :463 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [5. ปัญจมวรรค] 6. สมมติญาณกถา (48)
6. สมมติญาณกถา (48)
ว่าด้วยสมมติญาณ1
[434] ปร.2 ท่านไม่ยอมรับว่า “สมมติญาณมีสัจจะเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่
มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์มีญาณอยู่ และปฐวีกสิณเป็น
สมมติสัจจะใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์มีญาณอยู่ และปฐวีกสิณเป็น
สมมติสัจจะ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สมมติญาณมีสัจจะเท่านั้นเป็นอารมณ์
ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สมมติญาณมีสัจจะเท่านั้นเป็นอารมณ์ ไม่มีธรรม
อื่นเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ผู้เข้าสมาบัติที่มีอาโปกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีเตโชกสิณเป็นอารมณ์
ฯลฯ ผู้ถวายคิลานปัจจัยเภสัชบริขารมีญาณอยู่ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเป็น
สมมติสัจจะ มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากผู้ถวายคิลานปัจจัยเภสัชบริขารมีญาณอยู่ และคิลานปัจจยเภสัช-
บริขารเป็นสมมติสัจจะ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สมมติญาณมีสัจจะเท่านั้น
เป็นอารมณ์ ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์”

เชิงอรรถ :
1 สมมติญาณ หมายถึงญาณที่รู้สมมติบัญญัติ เช่น รู้บุคคล รู้ความจริงโดยสมมติ (อภิ.ปญฺจ.อ. 434/464)
2 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ ซึ่งมีความเห็นว่า สมมติญาณก็สามารถรู้สัจจะได้ คำว่า สัจจะ ในที่นี้
เป็นความหมายรวม ๆ ไม่แยกว่าเป็นสมมติสัจจะหรือปรมัตถสัจจะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 434/212)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :464 }