เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [5. ปัญจมวรรค] 5. ปฏิสัมภิทากถา (47)
5. ปฏิสัมภิทากถา (47)
ว่าด้วยปฏิสัมภิทา
[432] สก. ญาณทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. สมมติญาณเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมมติญาณเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชนเหล่าใดรู้สมมติ ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้ถึงปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เจโตปริยญาณ(ญาณที่กำหนดรู้ใจผู้อื่น) เป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เจโตปริยญาณเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชนเหล่าใดรู้จิตของผู้อื่น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้ถึงปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 432/212)
2 เพราะมีความเห็นว่า ญาณทั้งหมดของพระอริยะเป็นโลกุตตระ จึงจัดเป็นปฏิสัมภิทาญาณได้ทั้งหมด ซึ่ง
ต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ญาณของพระอริยะบางอย่างไม่จัดเป็นปฏิสัมภิทาญาณ (อภิ.ปญฺจ.อ.
432/212)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :462 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [5. ปัญจมวรรค] 5. ปฏิสัมภิทากถา (47)
สก. ญาณทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัญญาทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปัญญาทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์มีปัญญา ปัญญานั้นเป็นปฏิสัมภิทา
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้เข้าสมาบัติที่มีอาโปกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีเตโชกสิณเป็นอารมณ์
ฯลฯ มีวาโยกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีนีลกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีปีตกสิณเป็น
อารมณ์ ฯลฯ มีโลหิตกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโอทาตกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีอากาสานัญจายตนะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีวิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์
ฯลฯ ถวายทาน ฯลฯ จีวร ฯลฯ บิณฑบาต ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ ถวาย
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร มีปัญญา ปัญญานั้นเป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[433] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ญาณทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทา” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. โลกุตตรปัญญามีอยู่ โลกุตตรปัญญานั้นไม่เป็นปฏิสัมภิทาใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ญาณทั้งปวงจึงเป็นปฏิสัมภิทา

ปฏิสัมภิทากถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :463 }