เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [5. ปัญจมวรรค] 3. วิปรีตกถา (45)
สก. หากสัญญาวิปลาส จิตตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสของพระอรหันต์ไม่มี ท่าน
ก็ไม่ควรยอมรับว่า “ความวิปลาสของพระอรหันต์มีอยู่”
[427] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์
วิปริต” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปฐวีกสิณย่อมปรากฏแก่ผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นดิน
ล้วน ๆ ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์จึงวิปริต
สก. ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ดินมีอยู่ และบางคนที่เข้าปฐวีกสิณจากดินก็มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากดินมีอยู่ และบางคนที่เข้าปฐวีกสิณจากดินก็มีอยู่ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้”
สก. ดินมีอยู่ และญาณของผู้เข้าปฐวีกสิณจากดิน วิปริตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิพพานมีอยู่ แต่ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีนิพพานเป็นอารมณ์จากนิพพาน
ก็วิปริตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณ
เป็นอารมณ์ วิปริตได้”
วิปรีตกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :458 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [5. ปัญจมวรรค] 4. นิยามกถา (46)
4. นิยามกถา (46)
ว่าด้วยนิยาม
[428] สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอน1 มีญาณเพื่อไปสู่นิยาม2 ได้ใช่ไหม
ปร.3 ใช่4
สก. บุคคลผู้แน่นอน5 มีญาณเพื่อไปสู่อนิยาม6 ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่อนิยามได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 บุคคลผู้ไม่แน่นอน ในที่นี้หมายถึงปุถุชนผู้มีคติไม่แน่นอน อาจไปเกิดในภูมิใดภูมิหนึ่งในภูมิ 3 คือ
กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ (อภิ.ปญฺจ.อ. 663-664/269)
2 ดูเชิงอรรถที่ 2 ข้อ 403 หน้า 428 ในเล่มนี้
3 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 428/210)
4 เพราะมีความเห็นว่า แม้ปุถุชนก็มีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. 428/210)
5 บุคคลผู้แน่นอน ในที่นี้หมายถึงพระอริยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 428/210)
6 อนิยาม ในที่นี้หมายถึงมิจฉัตตนิยาม คืออนันตริยกรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. 663-664/269)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :459 }