เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [5. ปัญจมวรรค] 3. วิปรีตกถา (45)
สก. ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้ และญาณนั้น
เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความวิปลาสในสภาวธรรมที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ฯลฯ ที่เป็นอนัตตาว่า
เป็นอัตตา ฯลฯ ที่ไม่งามว่างาม และความวิปลาสนั้นเป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[426] สก. ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ท่านก็ไม่ควรยอม
รับ ว่า “ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้”
สก. ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้ พระอรหันต์พึง
เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความวิปลาสของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความวิปลาสของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัญญาวิปลาส จิตตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัญญาวิปลาส จิตตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสของพระอรหันต์ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :457 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [5. ปัญจมวรรค] 3. วิปรีตกถา (45)
สก. หากสัญญาวิปลาส จิตตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสของพระอรหันต์ไม่มี ท่าน
ก็ไม่ควรยอมรับว่า “ความวิปลาสของพระอรหันต์มีอยู่”
[427] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์
วิปริต” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปฐวีกสิณย่อมปรากฏแก่ผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นดิน
ล้วน ๆ ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์จึงวิปริต
สก. ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ดินมีอยู่ และบางคนที่เข้าปฐวีกสิณจากดินก็มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากดินมีอยู่ และบางคนที่เข้าปฐวีกสิณจากดินก็มีอยู่ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ วิปริตได้”
สก. ดินมีอยู่ และญาณของผู้เข้าปฐวีกสิณจากดิน วิปริตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิพพานมีอยู่ แต่ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีนิพพานเป็นอารมณ์จากนิพพาน
ก็วิปริตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ญาณของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณ
เป็นอารมณ์ วิปริตได้”
วิปรีตกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :458 }