เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [4. จตุตถวรรค] 9. อปราปิสมันนาคตกถา (41)
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์
ด้วยผล 2” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลได้ผล 2 แล้ว และไม่เสื่อม
จากผล 2 นั้นมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลได้ผล 2 แล้ว และไม่เสื่อม
จากผล 2 นั้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล
เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผล 2”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล เป็นผู้
บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลได้โสดาปัตติผลแล้ว และไม่เสื่อม
จากโสดาปัตติผลนั้นมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลได้โสดาปัตติผลแล้ว และ
ไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลนั้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อ
ทำให้แจ้งสกทาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล”
[412] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลได้ผล 3 แล้ว และไม่เสื่อม
จากผล 3 นั้น ดังนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล จึงเป็นผู้บริบูรณ์
ด้วยผล 3 ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลได้มรรค 4 แล้ว และไม่เสื่อมจาก
มรรค 4 นั้น ดังนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล จึงเป็นผู้บริบูรณ์
ด้วยมรรค 4 ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :444 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [4. จตุตถวรรค] 10. สัพพสัญโญชนัปปหานกถา (42)
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลได้ผล 2 แล้ว และไม่เสื่อม
จากผล 2 นั้น ดังนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล จึงเป็นผู้บริบูรณ์
ด้วยผล 2 ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลได้มรรค 3 แล้ว และไม่เสื่อม
จากมรรค 3 นั้น ดังนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล จึงเป็นผู้
บริบูรณ์ด้วยมรรค 3 ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลได้โสดาปัตติผลแล้ว และไม่เสื่อม
จากโสดาปัตติผลนั้น ดังนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล จึงเป็นผู้
บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลได้มรรค 2 แล้ว และไม่เสื่อม
จากมรรค 2 นั้น ดังนั้น บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล จึงเป็นผู้
บริบูรณ์ด้วยมรรค 2 ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อปราปิสมันนาคตกถา จบ

10. สัพพสัญโญชนัปปหานกถา (42)
ว่าด้วยการละสังโยชน์ทั้งปวง
[413] สก. การละสังโยชน์ทั้งปวง เป็นอรหัตตผลใช่ไหม
ปร.1 ใช่2

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 413/207-208)
2 เพราะมีความเห็นว่า การละสังโยชน์ได้ทั้ง 10 เป็นอรหัตตผล (อภิ.ปญฺจ.อ. 413/207-208)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :445 }