เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [4. จตุตถวรรค] 6. โพธิยาพุทโธติกถา (38)
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีต ทำกิจที่ควรทำ
ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน กำหนดรู้ทุกข์
ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบันนั้น
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีต กำหนดรู้ทุกข์
ฯลฯ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน ทำกิจที่ควรทำ
ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบันนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคต ทำกิจที่ควร
ทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคตนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน กำหนดรู้ทุกข์
ฯลฯ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบันนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคต กำหนดรู้ทุกข์
ฯลฯ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคตนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :422 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [4. จตุตถวรรค] 6. โพธิยาพุทโธติกถา (38)
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีต แต่ไม่ทำกิจที่ควร
ทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน แต่ไม่ทำกิจ
ที่ควรทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบันนั้น
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีต แต่ไม่กำหนดรู้ทุกข์
ฯลฯ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน แต่ไม่กำหนด
รู้ทุกข์ ฯลฯ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบันนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคต แต่ไม่ทำกิจที่
ควรทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคตนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน แต่ไม่ทำกิจที่
ควรทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบันนั้น
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคต แต่ไม่กำหนด
รู้ทุกข์ ฯลฯ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคตนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน แต่ไม่กำหนด
รู้ทุกข์ ฯลฯ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบันนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :423 }