เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 1. ปุคคลกถา
โดยไม่แยก ชีวะและบุคคลนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน
มีสภาพเหมือนกัน กายกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน แต่ไม่ยอมรับว่า ชีวะกับ
สรีระเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “เมื่อบัญญัติว่า กายกับสรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มีความ
หมายว่า กาย โดยไม่แยก สรีระและกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน
มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน เมื่อบัญญัติว่า บุคคลกับชีวะ หรือบัญญัติว่า ชีวะ
กับบุคคล ให้มีความหมายว่า บุคคล โดยไม่แยก ชีวะและบุคคลนี้นั้นมีความหมาย
อย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน กายกับบุคคลเป็นคน
ละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า เมื่อ
บัญญัติว่า กายกับสรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มีความหมายว่า กาย
โดยไม่แยก สรีระและกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน
มีสภาพเหมือนกัน เมื่อบัญญัติว่า บุคคลกับชีวะ หรือบัญญัติว่า ชีวะกับบุคคล ให้มี
ความหมายว่า บุคคล โดยไม่แยก ชีวะและบุคคลนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน
เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน กายกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน แต่
ไม่ยอมรับว่า ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[68] ปร. เมื่อบัญญัติว่า กายกับสรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มี
ความหมายว่า กาย โดยไม่แยก สรีระและกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน
เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่”
ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :42 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 1. ปุคคลกถา
ปร. กายกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ท่านจงรับปฏิกรรม ดังต่อไปนี้
เมื่อบัญญัติว่า กายกับสรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มีความหมายว่า
กาย โดยไม่แยก สรีระและกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วน
เท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล
ตนเองมีอยู่’ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “กายกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน”
ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า เมื่อบัญญัติว่า กายกับ
สรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มีความหมายว่า กาย โดยไม่แยก สรีระ
และกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ แต่ไม่ยอมรับว่า
กายกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “กายกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “เมื่อบัญญัติว่า กายกับสรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มี
ความหมายว่า กาย โดยไม่แยก สรีระและกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน
มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลตนเองมีอยู่” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
เมื่อบัญญัติว่า กายกับสรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มีความหมายว่า กาย
โดยไม่แยก สรีระและกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน
มีสภาพเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’
แต่ไม่ยอมรับว่า กายกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด (ย่อ)

ปัญญัตตานุโยคะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :43 }