เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [4. จตุตถวรรค] 5. อุเปกขาสมันนาคตกถา (37)
5. อุเปกขาสมันนาคตกถา (37)
ว่าด้วยผู้บริบูรณ์ด้วยอุเบกขา
[397] สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยอุเบกขา 6 ใช่ไหม
ปร.1 ใช่ 2
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยผัสสะ 6 ฯลฯ เวทนา 6 ฯลฯ สัญญา 6
ปัญญา 6 ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยอุเบกขา 6 ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เห็นรูปทางตา ฟังเสียงทางหู ดมกลิ่นทางจมูก ลิ้มรส
ทางลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย รู้ธรรมารมณ์ทางใจ ฯลฯ เมื่อรู้ธรรมารมณ์ทางใจ
จึงเห็นรูปทางตา ฟังเสียงทางหู ดมกลิ่นทางจมูก ลิ้มรสทางลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะ
ทางกายใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยอุเบกขา 6 ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ มั่นคงด้วยอุเบกขา 6 เนือง ๆ สม่ำเสมอ ไม่
ระคนกัน อุเบกขา 6 ปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยอุเบกขา 6” ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 387/201)
2 เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์ไม่สามารถให้อุเบกขา 6 ประการเกิดขึ้นพร้อมกัน (อภิ.ปญฺจ.อ.
397/204)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :419 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [4. จตุตถวรรค] 6. โพธิยาพุทโธติกถา (38)
ปร. พระอรหันต์มีอุเบกขา 6 มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระอรหันต์มีอุเบกขา 6 ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระ
อรหันต์ บริบูรณ์ด้วยอุเบกขา 6”
อุเปกขาสมันนาคตกถา จบ

6. โพธิยาพุทโธติกถา (38)
ว่าด้วยชื่อว่าพุทธะเพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้
[398] สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. เมื่อปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ดับไป หายไป ระงับไปแล้ว ไม่จัดว่าเป็น
พุทธะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็น
เครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 398/204)
2 เพราะมีความเห็นว่า จะเรียกว่าพุทธะได้ก็เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ และ มีปรากฏตลอดไปเช่นเดียวกับ
สี เช่น จะเรียกว่าคนขาว ก็เพราะมีผิวขาว จะเรียกว่าคนดำ ก็เพราะมีผิวดำ (อภิ.ปญฺจ.อ. 398/204)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :420 }