เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [4. จตุตถวรรค] 4. สมันนาคตกถา (36)
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสกทาคามีบริบูรณ์ด้วยผล 2” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสกทาคามีได้ผล 2 แล้วยังไม่เสื่อมจากผล 2 นั้นมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระสกทาคามีได้ผล 2 แล้วยังไม่เสื่อมจากผล 2 นั้น ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสกทาคามีบริบูรณ์ด้วยผล 2”
สก. พระอรหันต์ได้ผล 4 แล้วยังไม่เสื่อมจากผล 4 นั้น ดังนั้น
จึงชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยผล 4 ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ได้มรรค 4 แล้วยังไม่เสื่อมจากมรรค 4 นั้น ดังนั้น
จึงชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยมรรค 4 ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีได้ผล 3 แล้วยังไม่เสื่อมจากผล 3 นั้น ดังนั้น จึงชื่อ
ว่าบริบูรณ์ด้วยผล 3 ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีได้มรรค 3 แล้วยังไม่เสื่อมจากมรรค 3 นั้น ดังนั้น
จึงชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยมรรค 3 ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีได้ผล 2 แล้วยังไม่เสื่อมจากผล 2 นั้น ดังนั้น จึง
ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยผล 2 ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีได้มรรค 2 แล้วยังไม่เสื่อมจากมรรค 2 นั้น ดังนั้น
จึงชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยมรรค 2 ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

สมันนาคตกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :418 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [4. จตุตถวรรค] 5. อุเปกขาสมันนาคตกถา (37)
5. อุเปกขาสมันนาคตกถา (37)
ว่าด้วยผู้บริบูรณ์ด้วยอุเบกขา
[397] สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยอุเบกขา 6 ใช่ไหม
ปร.1 ใช่ 2
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยผัสสะ 6 ฯลฯ เวทนา 6 ฯลฯ สัญญา 6
ปัญญา 6 ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยอุเบกขา 6 ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เห็นรูปทางตา ฟังเสียงทางหู ดมกลิ่นทางจมูก ลิ้มรส
ทางลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย รู้ธรรมารมณ์ทางใจ ฯลฯ เมื่อรู้ธรรมารมณ์ทางใจ
จึงเห็นรูปทางตา ฟังเสียงทางหู ดมกลิ่นทางจมูก ลิ้มรสทางลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะ
ทางกายใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยอุเบกขา 6 ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ มั่นคงด้วยอุเบกขา 6 เนือง ๆ สม่ำเสมอ ไม่
ระคนกัน อุเบกขา 6 ปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยอุเบกขา 6” ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 387/201)
2 เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์ไม่สามารถให้อุเบกขา 6 ประการเกิดขึ้นพร้อมกัน (อภิ.ปญฺจ.อ.
397/204)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :419 }