เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [4. จตุตถวรรค] 3. อนาสวกถา (35)
สก. ราคะเป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นอารมณ์ของอาสวะแล้ว
ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. หากปุถุชนถวายบิณฑบาต ... เสนาสนะ ... คิลานปัจจัยเภสัชบริขารแก่
พระอรหันต์ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารนั้นเป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วไม่เป็นอารมณ์
ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. คิลานปัจจัยเภสัชบริขารนั้นเป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วไม่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สิ่งที่เป็นอารมณ์ของอาสวะกับจีวรที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นอัน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สิ่งที่เป็นอารมณ์ของอาสวะกับจีวรที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นอัน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะเป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะเป็นอารมณ์ของอาสวะแล้ว
ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :409 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [4. จตุตถวรรค] 4. สมันนาคตกถา (36)
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมทั้งปวงของพระอรหันต์ไม่เป็นอารมณ์
ของอาสวะ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระอรหันต์เป็นผู้ไม่มีอาสวะมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระอรหันต์เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า
“สภาวธรรมทั้งปวงของพระอรหันต์ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ”
อนาสวกถา จบ

4. สมันนาคตกถา (36)
ว่าด้วยผู้บริบูรณ์
[393] สก. พระอรหันต์บริบูรณ์1ด้วยผล 4 ใช่ไหม
ปร.2 ใช่3
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยผัสสะ 4 ฯลฯ เวทนา 4 ฯลฯ สัญญา 4
ฯลฯ เจตนา 4 ฯลฯ จิต 4 ฯลฯ ศรัทธา 4 ฯลฯ วิริยะ 4 ฯลฯ สติ 4
ฯลฯ สมาธิ 4 ฯลฯ ปัญญา 4 ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 บริบูรณ์ โดยทั่วไปหมายถึงความบริบูรณ์ 2 อย่างคือ (1) ความบริบูรณ์ที่เกิดแก่จิตในขณะหนึ่ง ๆ
(สมงฺคีภาวสมนฺนาคม) เช่น ในขณะที่มัคคจิตหรือผลจิตเกิดขึ้น ก็ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยมัคคจิตหรือผลจิต
(2) ความบริบูรณ์ที่เกิดจากการได้รับภูมิธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดารูปฌานหรืออรูปฌาน (ปฏิลาภ-
สมนฺนาคม) ความบริบูรณ์นี้จะดำรงอยู่ตราบเท่าที่ภูมิธรรมนั้น ๆ ยังไม่เสื่อม (อภิ.ปญฺจ.อ. 393/203)
2 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 387/201)
3 เพราะมีความเห็นว่า นอกจากความบริบูรณ์ 2 อย่างดังกล่าวแล้ว ยังมีความบริบูรณ์อีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า
ปัตติธรรม หมายถึงคุณวิเศษใด ๆ ที่บรรลุแล้ว คุณวิเศษนั้น ๆ จะคงมีอยู่ตลอดไป แม้จะบรรลุคุณธรรม
ที่สูงขึ้นไปแล้วก็ตาม ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่ไม่ยอมรับปัตติธรรมเช่นนั้น (อภิ.ปญฺจ.อ. 393/203)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :410 }