เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [4. จตุตถวรรค] 2. อุปปัตติกถา (34)
สก. เป็นพระอนาคามีพร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นพระโสดาบันพร้อมกับการปฏิสนธิไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากเป็นพระโสดาบันพร้อมกับการปฏิสนธิไม่ได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้”
สก. เป็นพระสกทาคามีพร้อมกับการปฏิสนธิไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากเป็นพระสกทาคามีพร้อมกับการปฏิสนธิไม่ได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้”
สก. เป็นพระอนาคามีพร้อมกับการปฏิสนธิไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากเป็นพระอนาคามีพร้อมกับการปฏิสนธิไม่ได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้”
[389] สก. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสารีบุตรเถระเป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระมหาโมคคัลลานเถระ ฯลฯ พระมหากัสสปเถระ ฯลฯ พระมหา-
กัจจายนเถระ ฯลฯ พระมหาโกฏฐิกเถระ ฯลฯ พระมหาปันถกเถระ เป็นพระ
อรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :402 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [4. จตุตถวรรค] 2. อุปปัตติกถา (34)
สก. พระสารีบุตรเถระไม่ได้เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระสารีบุตรเถระไม่ได้เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิ ท่าน
ก็ไม่ควรยอมรับว่า “เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้”
สก. พระมหาโมคคัลลานเถระ ฯลฯ พระมหากัสสปเถระ ฯลฯ พระมหา-
กัจจายนเถระ ฯลฯ พระมหาโกฏฐิกเถระ ฯลฯ พระมหาปันถกเถระ ไม่ได้เป็น
พระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระมหาปันถกเถระไม่ได้เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิ
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้”
[390] สก. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลทำให้แจ้งอรหัตตผลได้ด้วยปฏิสนธิจิตที่เป็นโลกิยะ ยังมีอาสวะ ฯลฯ
เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปฏิสนธิจิตเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ ให้ถึงความสิ้นกิเลส ให้ถึง
ความตรัสรู้ ให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของ
สังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปฏิสนธิจิตไม่เป็นเหตุนำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ไม่ให้ถึงความสิ้นกิเลส
ไม่ให้ถึงความตรัสรู้ ไม่ให้ถึงนิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ เป็นอารมณ์
ของสังกิเลสมิใช่หรือ
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :403 }