เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 1. ปุคคลกถา
[62] สก. ผู้มีรูปในรูปธาตุเป็นสัตว์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผู้มีกามในกามธาตุเป็นสัตว์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น1 ฯลฯ
[63] สก. ผู้ไม่มีรูปในอรูปธาตุเป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผู้มีกามในกามธาตุเป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[64] สก. ผู้ไม่มีรูปในอรูปธาตุเป็นสัตว์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผู้มีกามในกามธาตุเป็นสัตว์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[65] สก. ผู้มีรูปในรูปธาตุเป็นบุคคล ผู้ไม่มีรูปในอรูปธาตุเป็นบุคคล และ
บางคนจุติจากรูปธาตุแล้วเข้าถึงอรูปธาตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้มีรูปขาดสูญ บุคคลผู้ไม่มีรูปเกิดได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[66] สก. ผู้มีรูปในรูปธาตุเป็นสัตว์ ผู้ไม่มีรูปในอรูปธาตุเป็นสัตว์ และบาง
คนจุติจากรูปธาตุแล้วเข้าถึงอรูปธาตุมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 เพราะมีความเห็นว่า ผู้มีกามเป็นนามบัญญัติที่มิใช่ได้มาเพราะเกี่ยวข้องกับกามภูมิ แต่เป็นบัญญัติที่ได้มา
เพราะเกี่ยวข้องกับกิเลสกาม (อภิ.ปญฺจ.อ. 61-66/145)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :40 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 1. ปุคคลกถา
สก. สัตว์มีรูปขาดสูญ สัตว์ไม่มีรูปเกิดได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[67] สก. เมื่อบัญญัติว่า กายกับสรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มี
ความหมายว่า กาย โดยไม่แยก สรีระและกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน
เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อบัญญัติว่า บุคคลกับชีวะ หรือบัญญัติว่า ชีวะกับบุคคล ให้มี
ความหมายว่า บุคคล โดยไม่แยก ชีวะและบุคคลนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน
เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
เมื่อบัญญัติว่า กายกับสรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มีความหมายว่า
กาย โดยไม่แยก สรีระและกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วน
เท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน เมื่อบัญญัติว่า บุคคลกับชีวะ หรือบัญญัติว่า ชีวะกับ
บุคคล ให้มีความหมายว่า บุคคล โดยไม่แยก ชีวะและบุคคลนี้นั้นมีความหมาย
อย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน กายกับบุคคลเป็นคน
ละอย่างกัน ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน” ท่าน
กล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า เมื่อบัญญัติว่า กายกับสรีระ
หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มีความหมายว่า กาย โดยไม่แยก สรีระและกายนี้
นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน เมื่อ
บัญญัติว่า บุคคลกับชีวะ หรือบัญญัติว่า ชีวะกับบุคคล ให้มีความหมายว่า บุคคล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :41 }