เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [3. ตติยวรรค] 12. เนวสัญญานาสัญญายตนกถา (32)
สก. อสัญญสัตว์ ในจุติกาล ในปฏิสนธิกาล เป็นสัญญสัตว์ ในฐิติกาล
เป็นอสัญญสัตว์ ในจุติกาล ในปฏิสนธิกาล เป็นภพที่มีสัญญา ในฐิติกาล เป็นภพ
ที่ไม่มีสัญญา ในจุติกาล ในปฏิสนธิกาล เป็นภพที่มีขันธ์ 5 ในฐิติกาล เป็นภพ
ที่มีขันธ์ 1 ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อสัญญกถา จบ

12. เนวสัญญานาสัญญายตนกถา (32)
ว่าด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนะ
[384] สก. ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่”
ใช่ไหม
ปร.1 ใช่
สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพ เป็นภพที่ไม่มีสัญญา เป็นคติที่ไม่มีสัญญา
เป็นสัตตาวาสที่ไม่มีสัญญา เป็นสงสารที่ไม่มีสัญญา เป็นกำเนิดที่ไม่มีสัญญา
เป็นการได้อัตภาพที่ไม่มีสัญญาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพ เป็นภพที่ไม่มีสัญญา เป็นคติที่ไม่มีสัญญา
เป็นสัตตาวาสที่ไม่มีสัญญา เป็นสงสารที่ไม่มีสัญญา เป็นกำเนิดที่ไม่มีสัญญา
เป็นการได้อัตภาพที่ไม่มีสัญญามิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 381/200)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :392 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [3. ตติยวรรค] 12. เนวสัญญานาสัญญายตนกถา (32)
สก. หากเป็นภพที่มีสัญญา เป็นคติที่มีสัญญา ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพที่
มีสัญญา ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ข้าพเจ้าไม่
ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่”
สก. ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ 1 เป็นคติ ฯลฯ เป็นการ
ได้อัตภาพที่มีขันธ์ 1 ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ภพนั้นเป็นภพ ... เป็นคติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ 4 มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากเป็นภพ ... เป็นคติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ 4 ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ข้าพเจ้าไม่ยอมรับว่า สัญญา
มีอยู่”
[385] สก. ในหมู่อสัญญสัตว์ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่” และภพแห่ง
อสัญญสัตว์นั้น เป็นภพที่ไม่มีสัญญา เป็นคติที่ไม่มีสัญญา เป็นสัตตาวาสที่ไม่มี
สัญญา เป็นสงสารที่ไม่มีสัญญา เป็นกำเนิดที่ไม่มีสัญญา เป็นการได้อัตภาพที่ไม่
มีสัญญาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่”
และเนวสัญญานาสัญญายตนภพนั้นเป็นภพที่ไม่มีสัญญา เป็นคติที่ไม่มีสัญญา
เป็นสัตตาวาสที่ไม่มีสัญญา เป็นสงสารที่ไม่มีสัญญา เป็นกำเนิดที่ไม่มีสัญญา
เป็นการได้อัตภาพที่ไม่มีสัญญาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :393 }