เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [3. ตติยวรรค] 11. อสัญญกถา (31)
[382] สก. สัญญามีอยู่ในหมู่มนุษย์ และโลกของมนุษย์นั้นก็เป็นภพที่มีสัญญา
เป็นคติที่มีสัญญา เป็นสัตตาวาสที่มีสัญญา เป็นสงสารที่มีสัญญา เป็นกำเนิดที่มี
สัญญา เป็นการได้อัตภาพที่มีสัญญาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ และภพแห่งอสัญญสัตว์นั้นก็เป็นภพที่มี
สัญญา เป็นคติที่มีสัญญา เป็นสัตตาวาสที่มีสัญญา เป็นสงสารที่มีสัญญา เป็น
กำเนิดที่มีสัญญา เป็นการได้อัตภาพที่มีสัญญาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่มนุษย์ และโลกของมนุษย์นั้นก็เป็นภพที่มีขันธ์ 5
เป็นคติ ... เป็นสัตตาวาส ... เป็นสงสาร ... เป็นกำเนิด ... เป็นการได้
อัตภาพที่มีขันธ์ 5 ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ และภพแห่งอสัญญสัตว์นั้นเป็นภพที่มี
ขันธ์ 5 เป็นคติ ... เป็นสัตตาวาส ... เป็นสงสาร ... เป็นกำเนิด ... เป็นการ
ได้อัตภาพที่มีขันธ์ 5 ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ทำกิจที่ควรทำด้วยสัญญาได้ ด้วย
สัญญานั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ อสัญญสัตว์ทำกิจที่ควรทำด้วยสัญญาได้
ด้วยสัญญานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :389 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [3. ตติยวรรค] 11. อสัญญกถา (31)
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ และภพแห่งอสัญญสัตว์นั้นก็เป็นภพที่ไม่
มีสัญญา เป็นคติที่ไม่มีสัญญา เป็นสัตตาวาสที่ไม่มีสัญญา เป็นสงสารที่ไม่มีสัญญา
เป็นกำเนิดที่ไม่มีสัญญา เป็นการได้อัตภาพที่ไม่มีสัญญาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่มนุษย์ และโลกของมนุษย์นั้นก็เป็นภพที่ไม่มีสัญญา ฯลฯ
เป็นการได้อัตภาพที่ไม่มีสัญญาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ และภพแห่งอสัญญสัตว์นั้นก็เป็นภพที่มี
ขันธ์ 1 เป็นคติ ... เป็นสัตตาวาส ... เป็นสงสาร ... เป็นกำเนิด ... เป็นการได้
อัตภาพที่มีขันธ์ 1 ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่มนุษย์ และโลกของมนุษย์นั้นก็เป็นภพที่มีขันธ์ 1 ฯลฯ
เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ 1 ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ แต่อสัญญสัตว์ไม่ทำกิจที่ควรทำด้วย
สัญญาได้ ด้วยสัญญานั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่มนุษย์ แต่มนุษย์ไม่ทำกิจที่ควรทำด้วยสัญญาได้
ด้วยสัญญานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :390 }