เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [3. ตติยวรรค] 10. สังวรกถา (30)
เราไม่ได้ตั้งความปรารถนาไว้เพื่อปุพเพนิวาสญาณ1
ทิพพจักขุญาณ2 เจโตปริยญาณ3 อิทธิวิธญาณ4
ทิพพโสตญาณ5 และจุตูปปาตญาณ”6
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ยถากัมมูปคตญาณเป็นทิพยจักษุ”
ยถากัมมูปคตญาณกถา จบ

10. สังวรกถา (30)
ว่าด้วยความสำรวม
[379] สก. ความสำรวม7มีอยู่ในหมู่เทวดา8 ใช่ไหม
ปร.9 ใช่
สก. ความไม่สำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความไม่สำรวมไม่มีในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ปุพเพนิวาสญาณ หมายถึงปรีชาหยั่งรู้ถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนทั้งของตนและของผู้อื่นได้ (ขุ.เถร.อ.
2/996/443)
2-6 ทิพพจักขุญาณ หมายถึงญาณให้มีตาทิพย์
เจโตปริยญาณ หมายถึงปรีชากำหนดรู้ใจผู้อื่นได้
อิทธิวิธญาณ หมายถึงญาณที่ทำให้แสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ
ทิพพโสตญาณ หมายถึงญาณพิเศษที่ทำให้มีหูทิพย์
จุตูปปาตญาณ หมายถึงปรีชาหยั่งรู้จุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย (ดูเทียบ ขุ.เถร. (แปล)
26/996/396,ขุ.เถร.อ. 2/996/503)
7 ความสำรวม หมายถึงเจตนาระวังมิให้ล่วงละเมิดศีล 5 มีปาณาติบาตเป็นต้น แต่ฝ่ายปรวาทีเข้าใจผิดว่า
การไม่ล่วงละเมิด ศีล 5 เป็นสังวร (อภิ.ปญฺจ.อ. 379/199)
8 หมู่เทวดา ในที่นี้หมายถึงเทวดาชั้นดาวดึงส์ขึ้นไป (อภิ.ปญฺจ.อ. 379/199, มูลฏีกา 3/84, อนุฏีกา
3/129-130)
9 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ และนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 373/196)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :382 }