เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [3. ตติยวรรค] 7. ทิพพจักขุกถา (27)
สก. หากจักษุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มี 3 อย่าง คือ (1) มังสจักษุ
(2) ทิพยจักษุ (3) ปัญญาจักษุ” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “จักษุมี 2 อย่างเท่านั้น”
สก. จักษุมี 2 อย่างเท่านั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย จักษุนี้มี 3 อย่าง
3 อย่างอะไรบ้าง คือ (1) มังสจักษุ (2) ทิพยจักษุ (3) ปัญญาจักษุ
จักษุมี 3 อย่างนี้แล
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้อุดมบุรุษ
ได้ตรัสจักษุ 3 อย่าง คือ มังสจักษุ ทิพยจักษุ
และปัญญาจักษุอันยอดเยี่ยม
ความเกิดขึ้นแห่งมังสจักษุเป็นทางแห่งทิพยจักษุ
เมื่อใด ญาณคือปัญญาจักษุอันยอดเยี่ยมเกิดขึ้น
เมื่อนั้น ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
เพราะได้ปัญญาจักษุ”1
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “จักษุมี 2 อย่างเท่านั้น”

ทิพพจักขุกถา จบ

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ ขุ.อิติ. (แปล) 25/61/416-417

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :376 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [3. ตติยวรรค] 8. ทิพพโสตกถา (28)
8. ทิพพโสตกถา (28)
ว่าด้วยทิพยโสตะ
[375] สก. มังสโสตะที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยโสตะได้ใช่ไหม
ปร.1 ใช่
สก. มังสโสตะคือทิพยโสตะ ทิพยโสตะก็คือมังสโสตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสโสตะที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยโสตะได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสโสตะมีสภาพอย่างไร ทิพยโสตะก็มีสภาพอย่างนั้น ทิพยโสตะมี
สภาพอย่างไร มังสโสตะก็มีสภาพอย่างนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสโสตะที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยโสตะได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสโสตะกับทิพยโสตะเป็นอันเดียวกัน ทิพยโสตะกับมังสโสตะก็เป็นอัน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสโสตะที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยโสตะได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิสัย อานุภาพ โคจรของมังสโสตะมีสภาพอย่างไร วิสัย อานุภาพ
โคจรของทิพยโสตะก็มีสภาพอย่างนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ และนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 373/196)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :377 }