เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [3. ตติยวรรค] 7. ทิพพจักขุกถา (27)
7. ทิพพจักขุกถา (27)
ว่าด้วยทิพยจักษุ
[373] สก. มังสจักษุ(ตาเนื้อ)ที่ธรรม1 อุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุ(ตาทิพย์)
ได้ใช่ไหม
ปร.2 ใช่3
สก. มังสจักษุคือทิพยจักษุ ทิพยจักษุก็คือมังสจักษุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสจักษุมีสภาพอย่างไร ทิพยจักษุก็มีสภาพอย่างนั้น ทิพยจักษุมีสภาพ
อย่างไร มังสจักษุก็มีสภาพอย่างนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสจักษุกับทิพยจักษุเป็นอันเดียวกัน ทิพยจักษุกับมังสจักษุก็เป็นอัน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ธรรม ในที่นี้หมายถึงจตุตถฌาน (อภิ.ปญฺจ.อ. 373/196)
2 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 373/196)
3 เพราะมีความเห็นว่า ดวงตาปกติของบุคคลผู้เข้าถึงจตุตถฌาน ท่านเรียกว่า ทิพยจักษุ อันเป็นข้อ 1 ใน
อภิญญา 6 (อภิ.ปญฺจ.อ. 373/196)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :373 }