เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [3. ตติยวรรค] 6. อัฏฐมกัสสอินทริยกถา (26)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้
5 ประการอะไรบ้าง คือ (1) สัทธินทรีย์ (2) วิริยินทรีย์ (3) สตินทรีย์ (4)
สมาธินทรีย์ (5) ปัญญินทรีย์ ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้แล บุคคล
เป็นพระอรหันต์เพราะมีอินทรีย์ 5 ประการนี้ครบถ้วนบริบูรณ์ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ
ทำให้แจ้งอรหัตตผล เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอรหันต์นั้น เป็นพระอนาคามี
เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลนั้น เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ
ทำให้แจ้งอนาคามิผล เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอนาคามีนั้น เป็นพระสกทาคามี
เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลนั้น เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ
ทำให้แจ้งสกทาคามิผล เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระสกทาคามีนั้น เป็นพระ
โสดาบัน เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลนั้น เป็นผู้
ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระโสดาบันนั้น ภิกษุ
ทั้งหลาย ผู้ใดไม่มีอินทรีย์ 5 ประการนี้ โดยประการทั้งปวง ผู้นั้นเราเรียกว่า
เป็นคนภายนอก ตั้งอยู่ในฝ่ายปุถุชน”1 มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ 8 เป็นคนภายนอก ตั้งอยู่ในฝ่ายปุถุชนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ดังนั้น บุคคลที่ 8 จึงมีอินทรีย์ 5

อัฏฐมกัสสอินทริยกถา จบ

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ สํ.ม. (แปล) 19/488/285

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :372 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [3. ตติยวรรค] 7. ทิพพจักขุกถา (27)
7. ทิพพจักขุกถา (27)
ว่าด้วยทิพยจักษุ
[373] สก. มังสจักษุ(ตาเนื้อ)ที่ธรรม1 อุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุ(ตาทิพย์)
ได้ใช่ไหม
ปร.2 ใช่3
สก. มังสจักษุคือทิพยจักษุ ทิพยจักษุก็คือมังสจักษุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสจักษุมีสภาพอย่างไร ทิพยจักษุก็มีสภาพอย่างนั้น ทิพยจักษุมีสภาพ
อย่างไร มังสจักษุก็มีสภาพอย่างนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มังสจักษุที่ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพยจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มังสจักษุกับทิพยจักษุเป็นอันเดียวกัน ทิพยจักษุกับมังสจักษุก็เป็นอัน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ธรรม ในที่นี้หมายถึงจตุตถฌาน (อภิ.ปญฺจ.อ. 373/196)
2 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 373/196)
3 เพราะมีความเห็นว่า ดวงตาปกติของบุคคลผู้เข้าถึงจตุตถฌาน ท่านเรียกว่า ทิพยจักษุ อันเป็นข้อ 1 ใน
อภิญญา 6 (อภิ.ปญฺจ.อ. 373/196)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :373 }