เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [3. ตติยวรรค] 5. อัฏฐมกกถา (25)
สก. บุคคลที่ 8 เจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ เพื่อละวิจิกิจฉาปริยุฏฐาน
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ 8 ไม่เจริญมรรคเพื่อละทิฏฐิปริยุฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ 8 ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้วด้วยสภาวธรรมที่มิใช่มรรค เป็น
โลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ 8 ไม่เจริญสติปัฏฐาน ฯลฯ ไม่เจริญโพชฌงค์ เพื่อละ
ทิฏฐิปริยุฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ 8 ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้วด้วยสภาวธรรมที่มิใช่มรรค เป็น
โลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ 8 ไม่เจริญมรรค ฯลฯ ไม่เจริญสติปัฏฐาน ฯลฯ ไม่เจริญ
โพชฌงค์ เพื่อละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลที่ 8 ละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้วด้วยสภาวธรรมที่มิใช่มรรค
เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[370] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลที่ 8 ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้ว”
ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :364 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [3. ตติยวรรค] 5. อัฏฐมกกถา (25)
ปร. ทิฏฐิปริยุฏฐานจักเกิดขึ้นใช่ไหม
สก. จักไม่เกิดขึ้น
ปร. หากจักไม่เกิดขึ้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลที่ 8 ละ
ทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้ว”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลที่ 8 ละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้ว” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิจิกิจฉาปริยุฏฐานจักเกิดขึ้นใช่ไหม
สก. จักไม่เกิดขึ้น
ปร. หากจักไม่เกิดขึ้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลที่ 8 ละ
วิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้ว”
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “ทิฏฐิปริยุฏฐานจักไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่ 8” จึงยอม
รับว่า “บุคคลที่ 8 ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้ว” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “ทิฏฐานุสัยจักไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่ 8” จึงยอมรับว่า
“บุคคลที่ 8 ละทิฏฐานุสัยได้แล้ว” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “ทิฏฐิปริยุฏฐานจักไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่ 8” จึงยอม
รับว่า “บุคคลที่ 8 ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้ว” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “วิจิกิจฉานุสัย ฯลฯ สีลัพพตปรามาสจักไม่เกิด
ขึ้นแก่บุคคลที่ 8” จึงยอมรับว่า “บุคคลที่ 8 ละวิจิกิจฉานุสัย ฯลฯ สีลัพพต-
ปรามาสได้แล้ว” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :365 }