เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [3. ตติยวรรค] 4. วิมุจจมานกถา (24)
[367] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “จิตที่หลุดพ้นแล้ว ชื่อว่ากำลังหลุดพ้น” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “เมื่อบุคคลนั้นรู้เห็นอยู่อย่างนี้
จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะบ้าง จากภวาสวะบ้าง จากอวิชชาสวะบ้าง” 1 มีอยู่จริง
มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น จิตที่หลุดพ้นแล้วจึงชื่อว่ากำลังหลุดพ้น
สก. จิตที่หลุดพ้นแล้ว ชื่อว่ากำลังหลุดพ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ
บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะ
แก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมน้อมจิตไปเพื่อญาณเป็นเครื่องสิ้น
อาสวะ”2 มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “จิตที่หลุดพ้นแล้ว ชื่อว่ากำลังหลุดพ้น”
สก. จิตที่กำลังหลุดพ้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตที่กำลังกำหนัด ขัดเคือง หลง เศร้าหมองมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1-2 ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) 14/221/245, องฺ.ติก. (แปล) 20/71/283

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :360 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [3. ตติยวรรค] 5. อัฏฐมกกถา (25)
สก. จิตที่กำหนัดและไม่กำหนัด ขัดเคืองและไม่ขัดเคือง หลงและไม่หลง
ขาดและไม่ขาด แตกดับและไม่แตกดับ ถูกปัจจัยปรุงแต่งและไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากจิตที่กำหนัดและไม่กำหนัด ขัดเคืองและไม่ขัดเคือง หลงและ
ไม่หลง ขาดและไม่ขาด แตกดับและไม่แตกดับ ถูกปัจจัยปรุงแต่งและไม่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “จิตที่กำลังหลุดพ้นมีอยู่”
วิมุจจมานกถา จบ

5. อัฏฐมกกถา (25)
ว่าด้วยบุคคลที่ 8
[368] สก. บุคคลที่ 81 ละทิฏฐิปริยุฏฐานได้แล้วใช่ไหม
ปร.2 ใช่3
สก. บุคคลที่ 8 เป็นพระโสดาบัน เป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่
สัมผัสโสดาปัตติผลด้วยกายอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลที่ 8 ละวิจิกิจฉาปริยุฏฐานได้แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 บุคคลที่ 8 หมายถึงพระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค (อภิ.ปญฺจ.อ. 368/195)
2 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 368/195)
3 เพราะมีความเห็นว่า ก่อนที่โสดาปัตติมรรคจิตจะเกิด อนุโลมญาณและโคตรภูญาณได้ละทิฏฐิและวิจิกิจฉา
ไปแล้ว ดังนั้น ในขณะโสดาปัตติมรรคจะบอกว่ากำลังละทิฏฐิและวิจิกิจฉาไม่ได้ แต่จะต้องบอกว่าได้ละ
ทิฏฐิและวิจิกิจฉาไปแล้ว (อภิ.ปญฺจ.อ. 368/195)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :361 }