เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 1. ปุคคลกถา
อาศัยบุคคล ฯลฯ จักขุธาตุเป็นบุคคล ฯลฯ บุคคลอาศัยจักขุธาตุ ฯลฯ บุคคล
เป็นอื่นจากจักขุธาตุ ฯลฯ จักขุธาตุอาศัยบุคคล ฯลฯ ธัมมธาตุเป็นบุคคล ฯลฯ
บุคคลอาศัยธัมมธาตุ ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากธัมมธาตุ ฯลฯ ธัมมธาตุอาศัย
บุคคล ฯลฯ
จักขุนทรีย์เป็นบุคคล ฯลฯ บุคคลอาศัยจักขุนทรีย์ ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจาก
จักขุนทรีย์ ฯลฯ จักขุนทรีย์อาศัยบุคคล ฯลฯ อัญญาตาวินทรีย์เป็นบุคคล ฯลฯ
บุคคลอาศัยอัญญาตาวินทรีย์ ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากอัญญาตาวินทรีย์ ฯลฯ
อัญญาตาวินทรีย์อาศัยบุคคลใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ท่านจงรับปฏิกรรม ดังต่อไปนี้
หากพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่” ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์อาศัยบุคคล” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดใน
ตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลตนเองมีอยู่’ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตาวินทรีย์อาศัยบุคคล” คำนั้นของ
ท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์อาศัยบุคคล” ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่”
ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้
ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตาวินทรีย์
อาศัยบุคคล” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ

จตุกกนยสังสันทนะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :36 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 1. ปุคคลกถา
8. ลักขณยุตติ
ว่าด้วยการซักถามถึงลักษณะ1
[53] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลมีปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. บุคคลไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ บุคคลถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ บุคคล
ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ บุคคลเที่ยง ฯลฯ บุคคลไม่เที่ยง ฯลฯ บุคคลมีนิมิต2
ฯลฯ บุคคลไม่มีนิมิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น (ย่อ)
[54] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลมีปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น3
ปร. บุคคลไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ บุคคลถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ บุคคล
ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ บุคคลเที่ยง ฯลฯ บุคคลไม่เที่ยง ฯลฯ บุคคลมีนิมิต ฯลฯ
บุคคลไม่มีนิมิตใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น (ย่อ)
ลักขณยุตติ จบ

เชิงอรรถ :
1 หมายถึงตอนที่ว่าด้วยการซักถามถึงลักษณะแห่งบุคคล เช่น บุคคลมีลักษณะเหมือนกับสภาวธรรมหรือไม่
(อภิ.ปญฺจ.อ. 53/142)
2 นิมิต ในที่นี้หมายถึงเหตุให้เกิด (อภิ.ปญฺจ.อ. 53/142)
3 เพราะมีความเห็นว่า บุคคลแม้เป็นสมมติสัจ แต่ไม่มีลักษณะแห่งความเป็นผู้มีปัจจัยปรุงแต่งหรือไม่มี
ปัจจัยปรุงแต่ง เป็นต้น (อภิ.ปญฺจ.อ. 54/142)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :37 }