เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [3. ตติยวรรค] 4. วิมุจจมานกถา (24)
สก. บุคคลเป็นพระสกทาคามีส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระสกทาคามี
เป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสสกทาคามิผลด้วยกายอยู่ส่วนหนึ่ง
อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตที่หลุดพ้นแล้วส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งยังไม่หลุดพ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเป็นพระอนาคามีส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระอนาคามี เป็น
ผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสอนาคามิผลด้วยกายอยู่ส่วนหนึ่ง
อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ... ผู้
อุปหัจจปรินิพพายี ... ผู้อสังขารปรินิพพายี ... ผู้สสังขารปรินิพพายี ... ผู้
อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโต-
อกนิฏฐคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตหลุดพ้นแล้วส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งยังไม่หลุดพ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเป็นพระอรหันต์ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระอรหันต์ เป็น
ผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสอรหัตตผลด้วยกายอยู่ส่วนหนึ่ง อีก
ส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้ง
ธรรมที่ควรทำให้แจ้งส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตที่หลุดพ้นแล้ว ชื่อว่ากำลังหลุดพ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตหลุดพ้นแล้วในขณะเกิด ชื่อว่ากำลังหลุดพ้นในขณะดับใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :359 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [3. ตติยวรรค] 4. วิมุจจมานกถา (24)
[367] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “จิตที่หลุดพ้นแล้ว ชื่อว่ากำลังหลุดพ้น” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “เมื่อบุคคลนั้นรู้เห็นอยู่อย่างนี้
จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะบ้าง จากภวาสวะบ้าง จากอวิชชาสวะบ้าง” 1 มีอยู่จริง
มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น จิตที่หลุดพ้นแล้วจึงชื่อว่ากำลังหลุดพ้น
สก. จิตที่หลุดพ้นแล้ว ชื่อว่ากำลังหลุดพ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ
บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะ
แก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมน้อมจิตไปเพื่อญาณเป็นเครื่องสิ้น
อาสวะ”2 มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “จิตที่หลุดพ้นแล้ว ชื่อว่ากำลังหลุดพ้น”
สก. จิตที่กำลังหลุดพ้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตที่กำลังกำหนัด ขัดเคือง หลง เศร้าหมองมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1-2 ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) 14/221/245, องฺ.ติก. (แปล) 20/71/283

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :360 }