เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [3. ตติยวรรค] 3. วิมุตติกถา (23)
สก. จิตมีผัสสะหลุดพ้นได้ ทั้งผัสสะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตมีโมหะหลุดพ้นได้ ทั้งโมหะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีเวทนา ฯลฯ มีสัญญา ฯลฯ มีเจตนา ฯลฯ มีปัญญาหลุดพ้นได้
ทั้งปัญญาและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตมีโมหะหลุดพ้นได้ ทั้งโมหะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีผัสสะ มีโมหะหลุดพ้นได้ ทั้งผัสสะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทั้งโมหะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีเวทนา มีโมหะ ฯลฯ มีสัญญา มีโมหะ ฯลฯ มีเจตนา มีโมหะ ฯลฯ
มีปัญญา มีโมหะหลุดพ้นได้ ทั้งปัญญาและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทั้งโมหะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีราคะ มีโทสะ มีโมหะหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตที่ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ หมดกิเลสหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “จิตมีราคะ มีโทสะ มีโมหะหลุด
พ้นได้”

วิมุตติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :357 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [3. ตติยวรรค] 4. วิมุจจมานกถา (24)
4. วิมุจจมานกถา (24)
ว่าด้วยจิตกำลังหลุดพ้น
[366] สก. จิตที่หลุดพ้นแล้ว ชื่อว่ากำลังหลุดพ้นใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. จิตที่หลุดพ้นแล้วส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งยังไม่หลุดพ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตที่หลุดพ้นแล้วส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งยังไม่หลุดพ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเป็นพระโสดาบันส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระโสดาบัน
เป็นผู้ถึง ได้ บรรลุ ทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ สัมผัสโสดาปัตติผลด้วยกายอยู่ส่วนหนึ่ง
อีกส่วนหนึ่งไม่สัมผัสด้วยกายอยู่ เป็นพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ โกลังโกละ
เอกพีชี ประกอบด้วยความเลื่อมใสที่ไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม
ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจส่วนหนึ่ง อีกส่วน
หนึ่งไม่ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตที่หลุดพ้นแล้วส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งยังไม่หลุดพ้นใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 363/189)
2 เพราะมีความเห็นว่า การหลุดพ้นของจิตมี 2 ช่วงตามลำดับ ช่วงที่ 1 หลุดพ้นด้วยวิกขัมภนวิมุตติในฌาน
ช่วงที่ 2 หลุดพ้นด้วยสมุจเฉทวิมุตติในขณะแห่งมรรค ช่วงที่ 1 ละกิเลสได้เพียงบางส่วน ส่วนที่เหลือละ
ได้ในช่วงที่ 2 คำว่า จิตที่หลุดพ้นแล้ว หมายถึงจิตที่หลุดพ้นในช่วงที่ 1 ส่วนคำว่า กำลังหลุดพ้น หมายถึง
จิตในช่วงที่ 2 (อภิ.ปญฺจ.อ. 366/193)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :358 }