เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [3. ตติยวรรค] 3. วิมุตติกถา (23)
สก. จิตมีราคะหลุดพ้นได้ ทั้งราคะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีเวทนา ฯลฯ มีสัญญา ฯลฯ มีเจตนา ฯลฯ มีปัญญาหลุดพ้นได้
ทั้งปัญญาและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตมีราคะหลุดพ้นได้ ทั้งราคะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีผัสสะ มีราคะหลุดพ้นได้ ทั้งผัสสะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทั้งราคะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีเวทนา มีราคะ ฯลฯ มีสัญญา มีราคะ ฯลฯ มีเจตนา มีราคะ ฯลฯ
มีปัญญา มีราคะหลุดพ้นได้ ทั้งปัญญาและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทั้งราคะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[364] สก. จิตมีโทสะหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตที่สหรคตด้วยโทสะ เกิดพร้อมกับโทสะ ระคนด้วยโทสะ สัมปยุตด้วย
โทสะ มีพร้อมกับโทสะ เป็นไปตามโทสะ เป็นอกุศล เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของ
อาสวะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลสหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีผัสสะหลุดพ้นได้ ทั้งผัสสะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :355 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [3. ตติยวรรค] 3. วิมุตติกถา (23)
สก. จิตมีโทสะหลุดพ้นได้ ทั้งโทสะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีเวทนา ฯลฯ มีสัญญา ฯลฯ มีเจตนา ฯลฯ มีปัญญาหลุดพ้นได้
ทั้งปัญญาและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตมีโทสะหลุดพ้นได้ ทั้งโทสะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีผัสสะ มีโทสะหลุดพ้นได้ ทั้งผัสสะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตมีโทสะหลุดพ้นได้ ทั้งโทสะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตมีเวทนา มีโทสะ ฯลฯ มีสัญญา มีโทสะ ฯลฯ มีเจตนา มีโทสะ ฯลฯ
มีปัญญา มีโทสะหลุดพ้นได้ ทั้งปัญญาและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทั้งโทสะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[365] สก. จิตมีโมหะหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตที่สหรคตด้วยโมหะ เกิดพร้อมกับโมหะ ระคนด้วยโมหะ สัมปยุต
ด้วยโมหะ มีพร้อมกับโมหะ เป็นไปตามโมหะ เป็นอกุศล เป็นโลกิยะ เป็น
อารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลสหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :356 }