เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [3. ตติยวรรค] 2. อริยันติกถา (22)
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
เป็นอริยะ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะเป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มี
อัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
สก. ใช่ ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิ
ของสัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
เป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสุญญตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสุญญตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
เป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :353 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [3. ตติยวรรค] 3. วิมุตติกถา (23)
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิของ
สัตว์ทั้งหลายเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสุญญตะเป็นอารมณ์ มีอนิมิตตะ
เป็นอารมณ์ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะเป็นอริยะ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อริยันติกถา จบ

3. วิมุตติกถา (23)
ว่าด้วยความหลุดพ้น
[363] สก. จิตมีราคะหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร.1ใช่2
สก. จิตที่สหรคตด้วยราคะ เกิดพร้อมกับราคะ ระคนด้วยราคะ สัมปยุตด้วย
ราคะ มีพร้อมกับราคะ เป็นไปตามราคะ เป็นอกุศล เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของ
อาสวะ เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นอารมณ์ของโอฆะ เป็น
อารมณ์ของโยคะ เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นอารมณ์ของปรามาส เป็นอารมณ์ของ
อุปาทาน เป็นอารมณ์ของสังกิเลส หลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น3 ฯลฯ
สก. จิตมีผัสสะหลุดพ้นได้ ทั้งผัสสะและจิตหลุดพ้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 363/189)
2 เพราะมีความเห็นว่า จิตที่ปราศจากราคะแล้ว ก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะต้องทำให้หลุดพ้นจากราคะ จิตที่มี
ราคะเท่านั้นจะต้องทำให้หลุดพ้นจากราคะเหมือนผ้าที่แปดเปื้อนเท่านั้นที่จะต้องซักให้สะอาด (อภิ.ปญฺจ.อ.
363/189)
3 เพราะมีความเห็นว่า ในขณะแห่งมรรค จิตหลุดพ้นไม่ได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. 363/193)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :354 }