เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [3. ตติยวรรค] 2. อริยันติกถา (22)
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงความยิ่งและหย่อน
แห่งอินทรีย์ มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะ มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงความยิ่งและหย่อน
แห่งอินทรีย์ มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พลกถา จบ

2. อริยันติกถา (22)
ว่าด้วยความเป็นอริยะ
[357] สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและ
อฐานะเป็นอริยะใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. กำลังของพระตถาคต เป็นมรรค ผล นิพพาน โสดาปัตติมรรค
โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล
อรหัตตมรรค อรหัตตผล สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 357/191)
2 เพราะมีความเห็นว่า ทสพลญาณเป็นโลกุตตระ ไม่ใช่โลกิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 357/191)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :345 }