เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [3. ตติยวรรค] 1. พลกถา (21)
ปร. พระสาวกรู้ว่า “สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่าง ๆ กันได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระสาวกรู้ว่า “สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่าง ๆ กันได้” ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงความ
ที่สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่าง ๆ กัน (นานาธิมุตติกญาณ) มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก”
ปร. พระสาวกรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การออกจากฌาน วิโมกข์
สมาธิ และสมาบัติได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระสาวกรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การออกจากฌาน วิโมกข์
สมาธิ และสมาบัติได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “กำลังของพระตถาคตคือ
ปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การออกจากฌาน
วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ (ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ) มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก”
ปร. พระสาวกรู้การระลึกถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในชาติก่อนได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระสาวกรู้การระลึกถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในชาติก่อนได้ ดังนั้น ท่านจึง
ควรยอมรับว่า “กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงการระลึก
ถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในชาติก่อน (ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ) มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก”
ปร. พระสาวกรู้จุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระสาวกรู้จุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายได้ ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงจุติและปฏิสนธิ
ของสัตว์ทั้งหลาย (จุตูปปาตญาณ) มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก”
ปร. อาสวะของพระตถาคตสิ้นไปแล้วและของพระสาวกก็สิ้นไปแล้วมิใช่หรือ
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :342 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [3. ตติยวรรค] 1. พลกถา (21)
ปร. เหตุอะไร ๆ ที่ทำให้ต่างกันระหว่างความสิ้นไปแห่งอาสวะของพระตถาคต
กับความสิ้นไปแห่งอาสวะของพระสาวก หรือระหว่างความหลุดพ้นของพระตถาคต
กับความหลุดพ้นของพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่มี
ปร. หากไม่มีเหตุอะไร ๆ ที่ทำให้ต่างกันระหว่างความสิ้นไปแห่งอาสวะของ
พระตถาคตกับความสิ้นไปแห่งอาสวะของพระสาวก หรือระหว่างความหลุดพ้นของ
พระตถาคตกับความหลุดพ้นของพระสาวก ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “กำลัง
ของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่งอาสวะ (อาสวัก-
ขยญาณ) มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก”
[356] ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้น
ไปแห่งอาสวะ มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะ มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในจุติและปฏิสนธิ
ิของสัตว์ทั้งหลาย มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในฐานะและอฐานะ
มีได้ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :343 }