เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [3. ตติยวรรค] 1. พลกถา (21)
สก. บุรพประโยค บุรพจริยา การกล่าวธรรม การแสดงธรรมของพระสาวก
ก็เช่นเดียวกับบุรพประโยค บุรพจริยา การกล่าวธรรม การแสดงธรรมของพระ
ตถาคตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคต มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระตถาคตทรงเป็นพระชินเจ้า เป็นพระศาสดา เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นพระสัพพัญญู เป็นพระสัพพทัสสาวี เป็นพระธัมมัสสามี เป็นพระธัมม-
ปฏิสรณะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสาวกก็เป็นพระชินเจ้า เป็นพระศาสดา เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นพระสัพพัญญู เป็นพระสัพพทัสสาวี เป็นพระธัมมัสสามี เป็นพระธัมม-
ปฏิสรณะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคต มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระตถาคตเป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เป็นผู้ให้กำเนิดแก่มรรค
ที่ยังไม่มีใครให้กำเนิด เป็นผู้บอกมรรคที่ยังไม่มีใครบอก เป็นผู้รู้มรรค เป็นผู้เข้าใจ
มรรค เป็นผู้ฉลาดในมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสาวกก็เป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เป็นผู้ให้กำเนิดแก่มรรค
ที่ยังไม่มีใครให้กำเนิด เป็นผู้บอกมรรคที่ยังไม่มีใครบอก เป็นผู้รู้มรรค เป็นผู้เข้าใจ
มรรค เป็นผู้ฉลาดในมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงซึ่งความยิ่งและ
หย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ (อินทริยปโรปริยัตตญาณ) มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :340 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [3. ตติยวรรค] 1. พลกถา (21)
สก. พระสาวกเป็นผู้รู้ธรรมทั้งปวง เป็นผู้เห็นธรรมทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[355] ปร. พระสาวกรู้ฐานะและอฐานะใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระสาวกรู้ฐานะและอฐานะได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงฐานะและอฐานะ(ฐานาฐาน-
ญาณ) มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก”
ปร. พระสาวกรู้วิบากแห่งกรรมสมาทานทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ
ปัจจุบันโดยฐานะ โดยเหตุ ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระสาวกรู้วิบากแห่งกรรมสมาทานทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ
ปัจจุบันโดยฐานะ โดยเหตุ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “กำลังของพระตถาคต
คือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึงวิบากแห่งกรรมสมาทาน(กรรมวิปากญาณ)
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันโดยฐานะ โดยเหตุ มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก”
ปร. พระสาวกรู้ปฏิปทาที่จะให้สัตว์ถึงคติและมิใช่คติทั้งปวงได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระสาวกรู้ปฏิปทาที่จะให้สัตว์ถึงคติและมิใช่คติทั้งปวงได้ ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริงถึง
ปฏิปทาที่จะให้สัตว์ถึงคติและมิใช่คติทั้งปวง(สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ) มีได้ทั่วไป
แก่พระสาวก”
ปร. พระสาวกรู้โลกซึ่งมีธาตุหลายอย่างต่าง ๆ กันได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระสาวกรู้โลกซึ่งมีธาตุหลายอย่างต่าง ๆ กันได้ ดังนั้น ท่านจึง
ควรยอมรับว่า “กำลังของพระตถาคตคือปรีชาหยั่งรู้ตามความเป็นจริง ซึ่งมีธาตุ
หลายอย่างต่าง ๆ กัน (นานาธาตุญาณ) มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :341 }