เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [2. ทุติยวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
สก. สังขารที่ดับโดยไม่ต้องพิจารณา ชื่อว่าดับ เพราะอาศัยอริยมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิโรธมี 2 อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สังขารที่ดับโดยพิจารณา ไม่เกิดขึ้นอีกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สังขารที่ดับโดยไม่ต้องพิจารณา ก็ไม่เกิดขึ้นอีกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “นิโรธมี 2 อย่าง”
นิโรธกถา จบ
ทุติยวรรค จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

1. ปรูปหารกถา 2. อัญญาณกถา
3. กังขากถา 4. ปรวิตารณกถา
5. วจีเภทกถา 6. ทุกขาหารกถา
7. จิตตัฏฐิติกถา 8. กุกกุฬกถา
9. อนุปุพพาภิสมยกถา 10. โวหารกถา
11. นิโรธกถา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :338 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [3. ตติยวรรค] 1. พลกถา (21)
3. ตติยวรรค
1. พลกถา (21)
ว่าด้วยกำลัง
[354] สก. กำลังของพระตถาคต มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. กำลังของพระตถาคตก็คือกำลังของพระสาวก กำลังของพระสาวกก็คือ
กำลังของพระตถาคตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคต มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำลังของพระตถาคตกับกำลังของพระสาวกเป็นอันเดียวกัน กำลังของ
พระสาวกกับกำลังของพระตถาคตก็เป็นอันเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคต มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำลังของพระสาวกก็เช่นเดียวกับกำลังของพระตถาคต กำลังของพระ
ตถาคตก็เช่นเดียวกับกำลังของพระสาวกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กำลังของพระตถาคต มีได้ทั่วไปแก่พระสาวกใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 354/189)
2 เพราะมีความเห็นว่า ทสพลญาณ 10 ก็มีได้ในสันดานของเหล่าพระสาวก (อภิ.ปญฺจ.อ. 354/189)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :339 }