เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [2. ทุติยวรรค] 11. นิโรธกถา (20)
สก. เมื่อตรัสมรรคก็เป็นมรรค เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่มรรคก็เป็นสภาวธรรม
ที่มิใช่มรรค เมื่อตรัสผลก็เป็นผล เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่ผลก็เป็นสภาวธรรมที่
มิใช่ผล เมื่อตรัสนิพพานก็เป็นนิพพาน เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่นิพพานก็เป็น
สภาวธรรมที่มิใช่นิพพาน เมื่อตรัสสังขตธรรมก็เป็นสังขตธรรม เมื่อตรัสอสังขตธรรม
ก็เป็นอสังขตธรรม เมื่อตรัสรูปก็เป็นรูป เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่รูปก็เป็นสภาว-
ธรรมที่มิใช่รูป เมื่อตรัสเวทนาก็เป็นเวทนา เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่เวทนาก็เป็น
สภาวธรรมที่มิใช่เวทนา เมื่อตรัสสัญญาก็เป็นสัญญา เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่
สัญญาก็เป็นสภาวธรรมที่มิใช่สัญญา เมื่อตรัสสังขารก็เป็นสังขาร เมื่อตรัสสภาว-
ธรรมที่มิใช่สังขารก็เป็นสภาวธรรมที่มิใช่สังขาร เมื่อตรัสวิญญาณก็เป็นวิญญาณ
เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่วิญญาณก็เป็นสภาวธรรมที่มิใช่วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
โวหารกถา จบ

11. นิโรธกถา (20)
ว่าด้วยนิโรธ
[353] สก. นิโรธมี 2 อย่างใช่ไหม
ปร.1ใช่2
สก. ทุกขนิโรธมี 2 อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น3 ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหิสาสกะและนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 353/188)
2 เพราะมีความเห็นว่า นิโรธสัจมี 2 คือ ปฏิสังขานิโรธ(ดับโดยพิจารณา) และอัปปฏิสังขานิโรธ(ดับโดย
ไม่ต้องพิจารณา) (อภิ.ปญฺจ.อ. 353/188)
3 เพราะมีความเห็นว่า การดับทุกข์มีอย่างเดียวเท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ. 353/188)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :335 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [2. ทุติยวรรค] 11. นิโรธกถา (20)
สก. ทุกขนิโรธมี 2 อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่1
สก. นิโรธสัจมี 2 อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิโรธสัจมี 2 อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทุกขสัจมี 2 อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิโรธสัจมี 2 อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมุทยสัจมี 2 อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิโรธสัจมี 2 อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มัคคสัจมี 2 อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิโรธสัจมี 2 อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี 2 อย่าง ฯลฯ ที่เร้นมี 2 อย่าง ฯลฯ ที่ระลึกมี 2 อย่าง
ฯลฯ จุดมุ่งหมายมี 2 อย่าง ฯลฯ ที่มั่นมี 2 อย่าง ฯลฯ อมตะมี 2 อย่าง
ฯลฯ นิพพานมี 2 อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 เพราะมีความเห็นว่า ทุกข์ดับได้ด้วยอาการ 2 อย่าง (อภิ.ปญฺจ.อ. 353/188)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :336 }