เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [2. ทุติยวรรค] 10. โวหารกถา (19)
สก. กองข้าวเปลือกก็ดี กองทองก็ดี ใช้ไม้เท้าต้นละหุ่งชี้บอกได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อย่างนั้นเหมือนกัน สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะก็ดี ที่เป็นโลกุตตระก็ดี
พระผู้มีพระภาคตรัสด้วยพระโวหารที่เป็นโลกิยะ
[352] สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เมื่อตรัสโลกิยธรรมก็
เป็นโลกิยะ เมื่อตรัสโลกุตตรธรรมก็เป็นโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อตรัสโลกิยธรรม พระโวหารนั้นกระทบโสตะที่เป็นโลกิยะ เมื่อตรัส
โลกุตตรธรรม กระทบโสตะที่เป็นโลกุตตระ เมื่อตรัสโลกิยธรรม ชนทั้งหลายรับรู้ได้
ด้วยวิญญาณที่เป็นโลกิยะ เมื่อตรัสโลกุตตรธรรม รับรู้ได้ด้วยวิญญาณที่เป็น
โลกุตตระ เมื่อตรัสโลกิยธรรม ปุถุชนรับรู้ได้ เมื่อตรัสโลกุตตรธรรม พระสาวก
รับรู้ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เมื่อตรัส
โลกิยธรรมก็เป็นโลกิยะ เมื่อตรัสโลกุตตรธรรมก็เป็นโลกุตตระ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสทั้งโลกิยธรรมและโลกุตตรธรรมมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระผู้มีพระภาคตรัสทั้งโลกิยธรรมและโลกุตตรธรรม ดังนั้น ท่าน
จึงควรยอมรับว่า “พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เมื่อตรัสโลกิยธรรมก็
เป็นโลกิยะ เมื่อตรัสโลกุตตรธรรมก็เป็นโลกุตตระ”
สก. พระโวหารของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เมื่อตรัสโลกิยธรรมก็เป็น
โลกิยะ เมื่อตรัสโลกุตตรธรรมก็เป็นโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :334 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [2. ทุติยวรรค] 11. นิโรธกถา (20)
สก. เมื่อตรัสมรรคก็เป็นมรรค เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่มรรคก็เป็นสภาวธรรม
ที่มิใช่มรรค เมื่อตรัสผลก็เป็นผล เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่ผลก็เป็นสภาวธรรมที่
มิใช่ผล เมื่อตรัสนิพพานก็เป็นนิพพาน เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่นิพพานก็เป็น
สภาวธรรมที่มิใช่นิพพาน เมื่อตรัสสังขตธรรมก็เป็นสังขตธรรม เมื่อตรัสอสังขตธรรม
ก็เป็นอสังขตธรรม เมื่อตรัสรูปก็เป็นรูป เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่รูปก็เป็นสภาว-
ธรรมที่มิใช่รูป เมื่อตรัสเวทนาก็เป็นเวทนา เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่เวทนาก็เป็น
สภาวธรรมที่มิใช่เวทนา เมื่อตรัสสัญญาก็เป็นสัญญา เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่
สัญญาก็เป็นสภาวธรรมที่มิใช่สัญญา เมื่อตรัสสังขารก็เป็นสังขาร เมื่อตรัสสภาว-
ธรรมที่มิใช่สังขารก็เป็นสภาวธรรมที่มิใช่สังขาร เมื่อตรัสวิญญาณก็เป็นวิญญาณ
เมื่อตรัสสภาวธรรมที่มิใช่วิญญาณก็เป็นสภาวธรรมที่มิใช่วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
โวหารกถา จบ

11. นิโรธกถา (20)
ว่าด้วยนิโรธ
[353] สก. นิโรธมี 2 อย่างใช่ไหม
ปร.1ใช่2
สก. ทุกขนิโรธมี 2 อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น3 ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหิสาสกะและนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 353/188)
2 เพราะมีความเห็นว่า นิโรธสัจมี 2 คือ ปฏิสังขานิโรธ(ดับโดยพิจารณา) และอัปปฏิสังขานิโรธ(ดับโดย
ไม่ต้องพิจารณา) (อภิ.ปญฺจ.อ. 353/188)
3 เพราะมีความเห็นว่า การดับทุกข์มีอย่างเดียวเท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ. 353/188)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :335 }