เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [2. ทุติยวรรค] 9. อนุปุพพาภิสมยกถา (18)
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เมื่อเห็นทุกข์ ท่านจึงยอม
รับว่า “เป็นผู้ปฏิบัติ” ครั้นเห็นทุกข์แล้ว ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเห็นทุกข์ ไม่มีประโยชน์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อเห็นสมุทัย ฯลฯ เมื่อเห็นนิโรธ ท่านจึงยอมรับว่า “เป็นผู้ปฏิบัติ”
ครั้นเห็นนิโรธแล้ว ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเห็นนิโรธ ไม่มีประโยชน์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[345] ปร. ครั้นเห็นทุกข์แล้วก็เป็นอันเห็นสัจจะ 4 ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ทุกขสัจเป็นสัจจะ 4 ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ครั้นเห็นรูปขันธ์โดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงแล้ว ก็เป็นอันเห็นขันธ์ 5
โดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปขันธ์เป็นขันธ์ 5 ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ครั้นเห็นจักขายตนะโดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงแล้ว ก็เป็นอันเห็นอายตนะ
12 โดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :324 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [2. ทุติยวรรค] 9. อนุปุพพาภิสมยกถา (18)
สก. จักขายตนะเป็นอายตนะ 12 ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ครั้นเห็นจักขุธาตุโดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงแล้ว ก็เป็นอันเห็นธาตุ 18
โดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุธาตุเป็นธาตุ 18 ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ครั้นเห็นจักขุนทรีย์โดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงแล้ว ก็เป็นอันเห็น
อินทรีย์ 22 โดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุนทรีย์เป็นอินทรีย์ 22 ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลย่อมทำให้แจ้งโสดาปัตติผลด้วยญาณ 41 ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตติผลมี 4 ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลย่อมทำให้แจ้งโสดาปัตติผลด้วยญาณ 82 ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตติผลมี 8 ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 หมายถึงญาณในอริยสัจ 4 มีทุกขญาณ เป็นต้น (อภิ.ปญฺจ.อ. 345/187)
2 หมายถึงญาณในอริยสัจ 4 และญาณในปฏิสัมภิทา 4 ที่มีได้ทั่วไปแก่พระสาวก (อภิ.ปญฺจ.อ. 345/187)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :325 }