เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [2. ทุติยวรรค] 8. กุกกุฬกถา (17)
สก. ศีล ฯลฯ อุโบสถ ฯลฯ ภาวนา ฯลฯ พรหมจรรย์ มีผลน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพรหมจรรย์มีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มี
สุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็น
ดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด”
สก. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“วิเวก1เป็นความสุขของผู้สันโดษ2
ผู้มีธรรมปรากฏแล้ว ผู้เห็นอยู่
ความไม่เบียดเบียนคือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เป็นสุขในโลก
ความเป็นผู้ปราศจากราคะคือความล่วงกามทั้งหลายได้ เป็นสุขในโลก
ความกำจัดอัสมิมานะได้ เป็นสุขอย่างยิ่ง3
สุขยิ่งกว่าสุขนั้นเราได้ถึงแล้ว นั้นเป็นสุขอย่างยิ่ง
วิชชา 3 เราได้บรรลุโดยลำดับแล้ว
นั่นแลเป็นสุขอย่างยิ่ง”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด”

กุกกุฬกถา จบ

เชิงอรรถ :
1 วิเวก หมายถึงนิพพานที่สงัดจากอุปธิกิเลส (ขุ.อุ.อ. 11/104)
2 ผู้สันโดษ หมายถึงผู้สันโดษในมัคคญาณ 4 (โสดาปัตติมัคคญาณ สกทาคามิมัคคญาณ อนาคามิมัคค-
ญาณ อรหัตตมัคคญาณ) (ขุ.อุ.อ. 11/105)
3 ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) 4/5/8-9, ขุ.อุ. (แปล) 25/11/190

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :315 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [2. ทุติยวรรค] 9. อนุปุพพาภิสมยกถา (18)
9. อนุปุพพาภิสมยกถา (18)
ว่าด้วยการบรรลุธรรมโดยลำดับ
[339] สก. มีการบรรลุธรรมโดยลำดับใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. บุคคลเจริญโสดาปัตติมรรคได้โดยลำดับใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น3 ฯลฯ
สก. บุคคลเจริญโสดาปัตติมรรคได้โดยลำดับใช่ไหม
ปร. ใช่4
สก. บุคคลทำให้แจ้งโสดาปัตติผลได้โดยลำดับใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น5 ฯลฯ
สก. มีการบรรลุธรรมโดยลำดับใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเจริญสกทาคามิมรรคได้โดยลำดับใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลเจริญสกทาคามิมรรคได้โดยลำดับใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ นิกายสัพพัตถิกวาท นิกายสมิติยะ และนิกายภัทรยานิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ.
339/186)
2 เพราะมีความเห็นว่า การบรรลุอรหัตตผลเกิดจากการละกิเลสได้โดยลำดับด้วยญาณ 16 ประการ โดย
แบ่งเป็นมรรคละ 4 ประการ เช่น ผู้บรรลุโสดาปัตติผลย่อมละกิเลสบางอย่างด้วยการเห็นทุกข์(ทุกขญาณ)
ละกิเลสบางอย่างด้วยการเห็นสมุทัย(สมุทยญาณ) ละกิเลสบางอย่างด้วยการเห็นนิโรธ(นิโรธญาณ) และ
ละกิเลสก็บางอย่างด้วยการเห็นมรรค(มัคคญาณ) การบรรลุสกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล
ก็มีนัยเดียวกันนี้ (อภิ.ปญฺจ.อ. 339/186)
3 เพราะมีความเห็นว่า ถ้าตอบรับ เกรงจะมีผู้เข้าใจผิดว่า มรรคเดียวทำให้บรรลุผลหลายอย่าง (อภิ.ปญฺจ.อ.
339/186)
4 เพราะมีความเห็นว่า โสดาปัตติมรรคประกอบด้วยญาณ 4 ประการ คือ ทุกขญาณ สมุทยญาณ นิโรธญาณ
และมัคคญาณ (อภิ.ปญฺจ.อ. 339/186)
5 เพราะมีความเห็นว่า เขาปรารถนาโสดาปัตติผลอย่างเดียวเท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ. 339/186)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :316 }