เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [2. ทุติยวรรค] 8. กุกกุฬกถา (17)
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่
จำกัด
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นทุกข์ สังขารทั้งปวงไม่
่เที่ยงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากสิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นทุกข์ สังขารทั้ง
ปวงไม่เที่ยง ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่
จำกัด”
สก. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทานมีผลไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่เป็นที่พึงพอใจ มีผลเร่าร้อน
มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ศีล ฯลฯ อุโบสถ ฯลฯ ภาวนา ฯลฯ พรหมจรรย์ มีผลไม่น่าปรารถนา
ไม่น่าใคร่ ไม่เป็นที่พึงพอใจ มีผลเร่าร้อน มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทานมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร
มีสุขเป็นวิบากมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากทานมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร
มีสุขเป็นวิบาก ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :314 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [2. ทุติยวรรค] 8. กุกกุฬกถา (17)
สก. ศีล ฯลฯ อุโบสถ ฯลฯ ภาวนา ฯลฯ พรหมจรรย์ มีผลน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพรหมจรรย์มีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มี
สุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็น
ดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด”
สก. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“วิเวก1เป็นความสุขของผู้สันโดษ2
ผู้มีธรรมปรากฏแล้ว ผู้เห็นอยู่
ความไม่เบียดเบียนคือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เป็นสุขในโลก
ความเป็นผู้ปราศจากราคะคือความล่วงกามทั้งหลายได้ เป็นสุขในโลก
ความกำจัดอัสมิมานะได้ เป็นสุขอย่างยิ่ง3
สุขยิ่งกว่าสุขนั้นเราได้ถึงแล้ว นั้นเป็นสุขอย่างยิ่ง
วิชชา 3 เราได้บรรลุโดยลำดับแล้ว
นั่นแลเป็นสุขอย่างยิ่ง”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด”

กุกกุฬกถา จบ

เชิงอรรถ :
1 วิเวก หมายถึงนิพพานที่สงัดจากอุปธิกิเลส (ขุ.อุ.อ. 11/104)
2 ผู้สันโดษ หมายถึงผู้สันโดษในมัคคญาณ 4 (โสดาปัตติมัคคญาณ สกทาคามิมัคคญาณ อนาคามิมัคค-
ญาณ อรหัตตมัคคญาณ) (ขุ.อุ.อ. 11/105)
3 ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) 4/5/8-9, ขุ.อุ. (แปล) 25/11/190

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :315 }