เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [2. ทุติยวรรค] 8. กุกกุฬกถา (17)
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของ
ร้อน ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุเป็นของร้อน รูป
เป็นของร้อน จักขุวิญญาณเป็นของร้อน จักขุสัมผัสเป็นของร้อน แม้ความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็น
ปัจจัยก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่าร้อนเพราะไฟคือราคะ เพราะไฟ
คือโทสะ เพราะไฟคือโมหะ ร้อนเพราะชาติ เพราะชรา เพราะมรณะ เพราะโสกะ
เพราะปริเทวะ เพราะทุกข์ เพราะโทมนัส เพราะอุปายาส
โสตะ (หู) เป็นของร้อน เสียงเป็นของร้อน ฯลฯ ฆานะ (จมูก) เป็นของร้อน
กลิ่นเป็นของร้อน ฯลฯ ชิวหา(ลิ้น)เป็นของร้อน รสเป็นของร้อน ฯลฯ กายเป็นของ
ร้อน โผฏฐัพพะเป็นของร้อน ฯลฯ มโน(ใจ)เป็นของร้อน ธรรมารมณ์เป็นของร้อน
มโนวิญญาณเป็นของร้อน มโนสัมผัสเป็นของร้อน แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
หรือทุกข์ หรือที่มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นของร้อน
ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่าร้อนเพราะไฟคือราคะ เพราะไฟคือโทสะ เพราะไฟคือ
โมหะ ร้อนเพราะชาติ เพราะชรา เพราะมรณะ เพราะโสกะ เพราะปริเทวะ เพราะทุกข์
เพราะโทมนัส เพราะอุปายาส”1 มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด”
สก. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย กามคุณมี 5
ประการนี้ กามคุณ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ (1) รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด (2) เสียงที่พึงรู้แจ้ง
ทางหู ฯลฯ (3) กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ (4) รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) 4/54/63-64, สํ.สฬา. (แปล) 18/28/27-28

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :311 }