เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 1. ปุคคลกถา
7. จตุกกนยสังสันทนะ
ว่าด้วยการเทียบเคียงโดยนัย 4 ประการ1
[46] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นบุคคล2ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น3
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“รูปเป็นบุคคล” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปเป็นบุคคล” คำ
นั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “รูปเป็นบุคคล” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้น
ว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า
รูปเป็นบุคคล” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[47] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 หมายถึงตอนที่ว่าด้วยการเทียบเคียงบุคคลกับสภาวธรรม 57 โดยนัย 4 ประการ เช่น เทียบเคียง
บุคคลกับรูป ดังนี้ (1) รูปเป็นบุคคล (2) บุคคลอาศัยรูป (3) บุคคลเป็นอื่นจากรูป (4) รูปอาศัยบุคคล
(อภิ.ปญฺจ.อ. 46-52/140)
2 นัยที่ 1
3 ที่ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะกลัวจะเป็นอุจเฉททิฏฐิ (อภิ.ปญฺจ.อ. 46-52/140)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :31 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 1. ปุคคลกถา
สก. บุคคลอาศัยรูป1 ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากรูป2 ฯลฯ รูปอาศัยบุคคล3
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“รูปอาศัยบุคคล” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปอาศัยบุคคล” คำ
นั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “รูปอาศัยบุคคล” ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้น
ว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า
รูปอาศัยบุคคล” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[48] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาเป็นบุคคล ฯลฯ บุคคลอาศัยเวทนา ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจาก
เวทนา ฯลฯ เวทนาอาศัยบุคคล ฯลฯ
สัญญาเป็นบุคคล ฯลฯ บุคคลอาศัยสัญญา ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากสัญญา
ฯลฯ สัญญาอาศัยบุคคล ฯลฯ สังขารเป็นบุคคล ฯลฯ บุคคลอาศัยสังขาร ฯลฯ
บุคคลเป็นอื่นจากสังขาร ฯลฯ สังขารอาศัยบุคคล ฯลฯ วิญญาณเป็นบุคคล ฯลฯ
บุคคลอาศัยวิญญาณ ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากวิญญาณ ฯลฯ วิญญาณอาศัย
บุคคลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น

เชิงอรรถ :
1 นัยที่ 2
2 นัยที่ 3
3 นัยที่ 4

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :32 }