เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [2. ทุติยวรรค] 7. จิตตัฏฐิติกถา (16)
เหล่าเทพชั้นอัปปมาณาภา ... ตั้งอยู่ได้ตลอด 4 กัป ฯลฯ เหล่าเทพชั้นอาภัสสรา
... ตั้งอยู่ได้ตลอด 8 กัป ฯลฯ เหล่าเทพชั้นปริตตสุภา ... ตั้งอยู่ได้ตลอด 16
กัป ฯลฯ เหล่าเทพชั้นอัปปมาณสุภา ... ตั้งอยู่ได้ตลอด 32 กัป ฯลฯ เหล่า
เทพชั้นสุภกิณหา ... ตั้งอยู่ได้ตลอด 64 กัป ฯลฯ เหล่าเทพชั้นเวหัปผลา ...
ตั้งอยู่ได้ตลอด 500 กัป ฯลฯ เหล่าเทพชั้นอวิหา ... ตั้งอยู่ได้ตลอด 1,000 กัป
ฯลฯ เหล่าเทพชั้นอตัปปา ... ตั้งอยู่ได้ตลอด 2,000 กัป ฯลฯ เหล่าเทพชั้นสุทัสสา
... ตั้งอยู่ได้ตลอด 4,000 กัป ฯลฯ เหล่าเทพชั้นสุทัสสี ... ตั้งอยู่ได้ตลอด 8,000
กัป ฯลฯ เหล่าเทพชั้นอกนิฏฐามีประมาณอายุ 16,000 กัป ก็มีจิตดวงเดียว
ตั้งอยู่ได้ตลอด 16,000 กัปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. เหล่าเทพผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนภพ มีจิตเกิดดับเป็นระยะ ๆ
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เหล่าเทพผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนภพจุติปฏิสนธิเป็นระยะ ๆ
ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เหล่าเทพผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนภพ มีจิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้จน
ตลอดอายุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เหล่าเทพผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนภพ ปฏิสนธิด้วยจิตดวงใด ย่อม
จุติด้วยจิตดวงนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

จิตตัฏฐิติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :309 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [2. ทุติยวรรค] 8. กุกกุฬกถา (17)
8. กุกกุฬกถา (17)
ว่าด้วยเถ้ารึง
[338] สก. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัดใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. สุขเวทนา สุขทางกาย สุขทางใจ ทิพยสุข สุขของมนุษย์ สุขในลาภ
สุขในสักการะ สุขในการไป สุขในการนอน สุขในความมีอำนาจ สุขในความเป็นใหญ่
สุขของคฤหัสถ์ สุขของสมณะ สุขมีอาสวะ สุขไม่มีอาสวะ สุขมีอุปธิ สุขไม่มีอุปธิ
สุขเจืออามิส สุขไม่เจืออามิส สุขมีปีติ สุขไม่มีปีติ สุขในฌาน สุขอันเกิดจากวิมุตติ
สุขในกาม สุขในเนกขัมมะ สุขอันเกิดจากวิเวก สุขอันเกิดจากความสงบ สุขอันเกิด
จากความตรัสรู้ มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสุขเวทนา ฯลฯ สุขอันเกิดจากความตรัสรู้มีอยู่ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด”
สก. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สังขารทั้งปวงเป็นทุกขเวทนา ทุกข์ทางกาย ทุกข์ทางใจ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด” ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายโคกุลิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 338/186)
2 เพราะมีความเห็นว่า สังขารทั้งปวงเร่าร้อนดุจถ่านเพลิง (อภิ.ปญฺจ.อ. 338/186)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :310 }