เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [2. ทุติยวรรค] 6. ทุกขาหารกถา (15)
6. ทุกขาหารกถา (15)
ว่าด้วยทุกขาหารญาณ1
[334] สก. การกล่าวว่า “ทุกข์” เป็นองค์ของมรรค นับเนื่องในมรรคใช่ไหม
ปร.2 ใช่3
สก. ทุกคนที่กล่าวว่า “ทุกข์” ชื่อว่าเจริญมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น4 ฯลฯ
สก. ทุกคนที่กล่าวว่า “ทุกข์” ชื่อว่าเจริญมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่5
สก. พาลปุถุชนที่กล่าวว่า “ทุกข์” ชื่อว่าเจริญมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้ฆ่ามารดา ฯลฯ ฆ่าบิดา ฯลฯ ฆ่าพระอรหันต์ ฯลฯ ทำร้ายพระ
พุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน กล่าวว่า “ทุกข์” ชื่อว่า
เจริญมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ทุกขาหารกถา จบ

เชิงอรรถ :
1 ทุกขาหารญาณ หมายถึงญาณที่เกิดขึ้นขณะที่กล่าวว่าทุกข์ (อภิ.ปญฺจ.อ. 334/184)
2 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกาย ปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 334/184)
3 เพราะมีความเห็นว่า บุคคลผู้กล่าวว่า ทุกข์ ทุกข์ คือผู้เจริญมรรคจนรู้แจ้งทุกข์ (อภิ.ปญฺจ.อ. 334/184)
4 เพราะหมายเอาผู้ไม่รู้แจ้งทุกข์ จึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. 334/184)
5 เพราะหมายเอาผู้รู้แจ้งทุกข์ จึงตอบรับ (อภิ.ปญฺจ.อ. 334/184)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :303 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [2. ทุติยวรรค] 7. จิตตัฏฐิติกถา (16)
7. จิตตัฏฐิติกถา (16)
ว่าด้วยความตั้งอยู่แห่งจิต
[335] สก. จิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้ตลอดทั้งวันใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. กึ่งวันเป็นขณะเกิดขึ้น (ของจิต) อีกกึ่งวันเป็นขณะดับ (ของจิต) ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้ตลอด 2 วันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วันหนึ่งเป็นขณะเกิดขึ้น (ของจิต) อีกวันหนึ่งเป็นขณะดับ (ของจิต) ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้ตลอด 4 วัน ฯลฯ 8 วัน ฯลฯ 10 วัน ฯลฯ
20 วัน ฯลฯ 1 เดือน ฯลฯ 2 เดือน ฯลฯ 4 เดือน ฯลฯ 8 เดือน ฯลฯ
10 เดือน ฯลฯ 1 ปี ฯลฯ 2 ปี ฯลฯ 4 ปี ฯลฯ 8 ปี ฯลฯ 10 ปี ฯลฯ
30 ปี ฯลฯ 40 ปี ฯลฯ 50 ปี ฯลฯ 100 ปี ฯลฯ 200 ปี ฯลฯ 400
ปี ฯลฯ 500 ปี ฯลฯ 1,000 ปี ฯลฯ 2,000 ปี ฯลฯ 4,000 ปี ฯลฯ
8,000 ปี ฯลฯ 16,000 ปี ฯลฯ 1 กัป ฯลฯ 2 กัป ฯลฯ 4 กัป ฯลฯ
8 กัป ฯลฯ 16 กัป ฯลฯ 32 กัป ฯลฯ 64 กัป ฯลฯ 500 กัป ฯลฯ
1,000 กัป ฯลฯ 2,000 กัป ฯลฯ 4,000 กัป ฯลฯ 8,000 กัป ฯลฯ 16,000
กัป ฯลฯ 20,000 กัป ฯลฯ 40,000 กัป ฯลฯ 60,000 กัป ฯลฯ 84,000
กัปใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 335/185)
2 เพราะมีความเห็นว่า จิตไม่มีวันเสื่อมสลาย ทั้งนี้เพราะเห็นว่า จิตที่อยู่ในสมาบัติกับภวังคจิตเป็นไปสืบต่อ
กันโดยตลอด (อภิ.ปญฺจ.อ. 335/185)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :304 }