เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [2. ทุติยวรรค] 3. กังขากถา (12)
เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์
ผู้มีความเพียร เพ่งอยู่
เมื่อนั้น พราหมณ์นั้นย่อมกำจัดมารและเสนาเสียได้
ดุจพระอาทิตย์อุทัยขึ้นสาดส่องท้องฟ้าให้สว่างไสว ฉะนั้น1
ความสงสัยเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่มีในอัตภาพนี้หรือในอัตภาพอื่น
ที่มีในความรู้ของตนหรือในความรู้ของผู้อื่น
บุคคลผู้เพ่งพินิจ มีความเพียร ประพฤติพรหมจรรย์อยู่
ย่อมละความสงสัยเหล่านั้นทั้งหมดได้2
ทานที่ให้แล้วแก่บุคคลผู้ข้ามความสงสัย
ผู้หมดความสงสัย
ผู้ปราศจากความสงสัยทั้งที่คนทั้งหลายยังมีความสงสัยอยู่
ย่อมมีผลมาก
การประกาศธรรมในธรรมวินัยนี้เป็นเช่นนี้
ไม่มีพระสาวกรูปไหนจะสงสัยอะไร
ในการประกาศธรรมนั้นเลย
พวกข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระชินพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นจอมคน ทรงข้ามโอฆะได้
ทรงตัดความสงสัยได้แล้ว”3
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) 4/1-3/3-6, ขุ.อุ. (แปล) 25/1-3/172-176
2 ดูเทียบ ขุ.อุ. (แปล) 25/47/275
3 ดูเทียบ ที.ม. (แปล) 10/354/284

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :281 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [2. ทุติยวรรค] 3. กังขากถา (12)
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระอรหันต์พึงสงสัยในชื่อและโคตรของสตรีและบุรุษ ในทางและมิใช่ทาง
ในชื่อของหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระอรหันต์จะพึงสงสัยในชื่อและโคตรของสตรีและบุรุษ ในทางและ
มิใช่ทาง ในชื่อของหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่า ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. พระอรหันต์จะพึงสงสัยในชื่อและโคตรของสตรีและบุรุษ ในทางและมิใช่
ทาง ในชื่อของหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่า ดังนั้น ความสงสัยของพระอรหันต์
จึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์จะพึงสงสัยในโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล
อรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

กังขากถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :282 }