เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [2. ทุติยวรรค] 2. อัญญาณกถา (11)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“พระโสดาบันละธรรม 3 ประการ คือ
สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส
ได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว
พร้อมกับการบรรลุโสดาปัตติมรรค
พระโสดาบันก็พ้นจากอบายทั้ง 4
และจะไม่ทำอภิฐาน 6”1]

มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยที่
ธรรมจักษุที่ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่อริยสาวกว่า ‘สิ่งใดสิ่งหนึ่งมี
ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา’ พร้อมกับการเกิด
ขึ้นแห่งโสดาปัตติมรรค อริยสาวกย่อมละสังโยชน์ได้ 3 ประการ คือ สักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส”2 มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ ขุ.สุ. (แปล) 25/233-234/555
2 ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) 20/95/249

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :272 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [2. ทุติยวรรค] 3. กังขากถา (12)
ปร. พระอรหันต์ไม่รู้ชื่อและโคตรของสตรีและบุรุษ ไม่รู้ทางและมิใช่ทาง ไม่
รู้ชื่อของหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระอรหันต์ไม่รู้ชื่อและโคตรของสตรีและบุรุษ ไม่รู้ทางและมิใช่ทาง
ไม่รู้ชื่อของหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ ดังนั้น ท่านควรยอมรับว่า “ความไม่รู้
ของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. พระอรหันต์ไม่รู้ชื่อและโคตรของสตรีและบุรุษ ไม่รู้ทางและมิใช่ทาง ไม่รู้
ชื่อของหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ เพราะเหตุนั้น ความไม่รู้ของพระอรหันต์
จึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ไม่รู้โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อัญญาณกถา จบ

3. กังขากถา (12)
ว่าด้วยความสงสัย
[318] สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสังโยชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์
ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 318/183)
2 เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์ยังมีความสงสัยในชื่อต่าง ๆ จึงชื่อว่ายังมีความสงสัยอยู่ (อภิ.ปญฺจ.อ.
318/183)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :273 }