เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [2. ทุติยวรรค] 2. อัญญาณกถา (11)
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเจริญโพชฌงค์เพื่อละอโนตตัปปะ ความ
ไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ
ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว (แต่)ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว (แต่)ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละได้แล้ว ความไม่รู้ของพระ
อรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละได้แล้ว ความไม่รู้ของพระ
อรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละ
ได้แล้ว ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโนตตัปปะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละได้แล้ว ความไม่รู้ของ
พระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :269 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [2. ทุติยวรรค] 2. อัญญาณกถา (11)
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ เพื่อละ
ราคะ ฯลฯ เพื่อละโทสะ ฯลฯ เพื่อละโมหะ ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะ ความ
ไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเจริญโพชฌงค์เพื่อละอโนตตัปปะ
ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ
ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[317] สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ
สิ้นไปแห่งอาสวะของบุคคลผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะของ
บุคคลผู้ไม่รู้ ไม่เห็น เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี คือ
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอยู่ว่า รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้ ความดับแห่ง
รูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ฯลฯ สัญญาเป็นดังนี้ ฯลฯ สังขารเป็นดังนี้ ฯลฯ
วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี” 1 มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ สํ.ข. (แปล) 17/101/192-193

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :270 }