เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [2. ทุติยวรรค] 2. อัญญาณกถา (11)
สก. ราคะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากราคะพระอรหันต์ละได้แล้วตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัด
รากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ พระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดราก
ถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอโนตตัปปะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่
ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ เพื่อละราคะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :266 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [2. ทุติยวรรค] 2. อัญญาณกถา (11)
สก. พระอรหันต์เจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ เพื่อละโทสะ ฯลฯ เพื่อ
ละโมหะ ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เจริญโพชฌงค์เพื่อละอโนตตัปปะ ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรม
ที่ควรทำให้แจ้งแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำ
ให้แจ้งแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
[316] สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ความไม่รู้ของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนมีอยู่ ความไม่รู้ของพระ
อรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นไม่มี
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :267 }