เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [2. ทุติยวรรค] 1. ปรูปหารกถา (10)
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว
ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระ
อรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว
ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระ
อรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[313] สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นปุถุชน
ถึงพร้อมด้วยศีล มีสติสัมปชัญญะ จำวัด น้ำอสุจิของภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่ไหล
ออกมา น้ำอสุจิแม้ของพวกฤาษีนอกศาสนา ผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม
ย่อมไม่ไหลออกมา ภิกษุทั้งหลาย ย่อมไม่มีทางเป็นไปได้ ไม่ใช่โอกาสที่น้ำอสุจิ
ของพระอรหันต์จะพึงไหลออกมา” 1 มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิ
ของพระอรหันต์มีอยู่”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “การที่บุคคลอื่นนำ(ปัจจัย)เข้าไปให้แก่พระอรหันต์
มีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) 5/353/226

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :261 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [2. ทุติยวรรค] 2. อัญญาณกถา (11)
ปร. บุคคลเหล่าอื่นจะพึงนำจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช
บริขารเข้าไปให้แก่พระอรหันต์ได้มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลเหล่าอื่นจะพึงนำจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย
เภสัชบริขารเข้าไปให้แก่พระอรหันต์ได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “การที่บุคคลอื่น
นำปัจจัยเข้าไปให้แก่พระอรหันต์ก็มีได้”
สก. บุคคลเหล่าอื่นจะพึงนำจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช
บริขารเข้าไปให้แก่พระอรหันต์ได้ เพราะเหตุนั้น การที่บุคคลอื่นนำ(ปัจจัย)เข้าไป
ให้แก่พระอรหันต์จึงมีได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเหล่าอื่นจะพึงนำโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรือ
อรหัตตผลเข้าไปให้แก่พระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปรูปหารกถา จบ

2. อัญญาณกถา (11)
ว่าด้วยความไม่รู้
[314] สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร.1 ใช่2

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกาย ปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 314/183)
2 เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์ที่ยังไม่รู้ชื่อและโคตรของบุคคลและสถานที่ เป็นต้น ชื่อว่ายังมีอวิชชาอยู่
(อภิ.ปญฺจ.อ. 314/182-183)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :262 }